วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ภูเก็ต "ไข่มุกอันดามัน"

คำขวัญ จังหวัดภูเก็ต : ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม
จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ พื้นที่บริเวณเกาะภูเก็ตได้มีการเรียกขาน กันมาหลายชื่อ ได้แก่ แหลมตะโกลา มณีคราม จังซีลอน ภูเก็จ (ซึ่งหมายถึงภูเขาแก้ว) จนกลายเป็นคำว่า “ภูเก็ต” เป็นเมืองที่มีมานานตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยตัวเมืองอยู่ที่ถลางซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองถลางเดิมมีขุนนางไทยคอยดูแลรักษาผลประโยชน์เพราะฝรั่งชาติฮอลันดามารับ ซื้อสินค้าจำพวกแร่ ต่อมาถึงรัชกาลที่ 1 พระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพเข้ามารุกรานหัวเมืองฝ่ายตะวันตกแถบชายทะเลของไทย ในปี พ.ศ.2328 โดยแบ่งกองทัพยกไปตีเมืองกระ ระนอง ชุมพร ไชยา ตลอดลงไปถึงเมืองนครศรีธรรมราช ขณะนั้นกองทัพกรุงเทพฯ ยังติดพันการศึกที่กาญจนบุรียกมาช่วยไม่ทัน พม่าส่งแม่ทัพชื่อยี่หวุ่น ยกทัพเรือมาตีได้ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า แล้วเลยไปตั้งค่ายล้อมเมืองถลางไว้ ขณะนั้นพระยาถลางถึงแก่กรรมยังไม่ได้ตั้งเจ้าเมืองใหม่ ภริยาเจ้าเมืองถลางชื่อจัน กับน้องสาวชื่อมุก จึงคิดอ่านกับกรรมการทั้งปวงตั้งค่ายใหญ่ขึ้น 2 ค่าย ป้องกันรักษาเมืองเป็นสามารถ พม่าล้อมเมืองอยู่เดือนเศษเมื่อหมดเสบียงก็เลิกทัพกลับไป

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอด ฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ พระราชทานเครื่องยศให้วีรสตรีทั้งสองเป็นท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นที่น่าภาคภูมิใจแก่ชาวเมืองตลอดมา เกาะถลางหรือเมืองถลางได้เปลี่ยนชื่อเป็นเกาะภูเก็ต หรือเมืองภูเก็ตในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ภูเก็ต ได้ชื่อว่าเป็นไข่มุกแห่งอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก ในด้านความสวยงามของทิวทัศน์ และหาดทราย น้ำทะเลสีฟ้าใส พร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวครบครัน เป็นเกาะใหญ่ที่สุดของประเทศไทย มีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ ตั้งอยู่ทางชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทยในน่านน้ำทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย มีพื้นที่ประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร ความยาวสุดของเกาะภูเก็ตวัดจากทิศเหนือถึงทิศใต้ประมาณ 48.7 กิโลเมตร และส่วนกว้างที่สุดวัดจากทิศตะวันออกถึงทิศตะวันตกประมาณ 21.3 กิโลเมตร ภูเก็ตแบ่งออกเป็น 3 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอถลาง และอำเภอกะทู้

ภูมิ อากา
ภูเก็ต มีอากาศแบบฝนเมืองร้อน มีลมพัดผ่านตลอดเวลา อากาศอบอุ่นและชุ่มชื้นตลอดปี มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ฤดูฝนเริ่มเดือนพฤษภาคม-เดือนพฤศจิกายน ฤดูร้อนเริ่มเดือนธันวาคม-เดือนเมษายน ช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เป็นช่วงที่อากาศดีที่สุดไม่มีฝน ท้องฟ้าแจ่มใส

ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว
สถานที่น่า สนใจ ในเขตอำเภอเมือง ภูเก็ต
เขารัง
เป็นเนินเขาเตี้ยๆ อยู่หลังตัวเมืองทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ รถยนต์สามารถขึ้นไปจนถึงยอดเขา เทศบาลจัดเป็นสวนสุขภาพและสวนสาธารณะ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ และชมทิวทัศน์ของเมืองภูเก็ต จากยอดเขาจะแลเห็นตัวเมืองภูเก็ต ทะเลกว้าง เกาะเล็ก เกาะน้อย รวมทั้งทิวทัศน์ของเกาะทั้งใกล้และไกล
สะพานหิน
สถานที่ พักผ่อนหย่อนใจภายในตัวเมือง อยู่สุดถนนภูเก็ตซึ่งยื่นลงไปในทะเลเล็กน้อย เป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์หลัก 60 ปี ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521 เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กัปตันเอ็ดเวิร์ด โธมัสไมล์ ชาวออสเตรเลียผู้นำเรือขุดแร่ลำแรกมาใช้ขุดแร่ดีบุกในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2452
ตึกสมัยเก่า
ใน ตัวเมืองภูเก็ตส่วนมากเป็นตึกสมัยเก่าแบบยุโรป สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยเมื่อเกือบร้อยปีมาแล้ว เมื่อครั้งกิจการเหมืองแร่เริ่มเจริญใหม่ๆ ตึกสมัยเก่าเหล่านี้ได้รับอิทธิพลทางด้านสถาปัตยกรรมแบบจีนด้วยจึงเรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบซิโน-โปรตุกีส ลักษณะตึกสมัยเก่าของภูเก็ตนั้นจะมีส่วนลึกมากกว่าส่วนกว้างและไม่สูงนัก ปัจจุบันจะหาดูได้บริเวณถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนพังงา ถนนเยาวราช และถนนกระบี่ นอกจากนี้ยังมีตึกโบราณที่มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ได้แก่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ศาลจังหวัดภูเก็ต และธนาคารนครหลวงไทย เป็นต้น

เกาะสิเหร่เป็น เกาะขนาดเล็กอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะภูเก็ต อยู่ห่างจากตัวเมืองรวม 4 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 20 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันนี้ถือเป็นพื้นที่อันเดียวกับเกาะภูเก็ต มีคลองเล็กๆ ชื่อคลองท่าจีนคั่นเท่านั้น ประชากรที่เกาะสิเหร่นี้ส่วนหนึ่งเป็นชาวเล หรือชาวน้ำ ซึ่งมีจำนวนมากที่สุดในจำนวนชาวเลที่อาศัยอยู่ในเกาะภูเก็ต เกาะสิเหร่ เป็นที่ตั้งของสำนักสงฆ์มีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่อยู่บนยอดเขา ชายหาดไม่เหมาะสำหรับการการเล่นน้ำ พื้นทรายมีโคลนปน
หมู่บ้านชาวเล
ชาว เลหรือชาวน้ำ หรือชาวไทยใหม่ เป็นชนกลุ่มน้อยของไทย อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ตามเกาะในมหาสมุทรอินเดีย ในเกาะภูเก็ตมีชาวเลอาศัยอยู่ที่หาดราไว ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต ประมาณ 17 กิโลเมตร และที่เกาะสิเหร่บริเวณแหลมตุ๊กแก

วัดฉลอง
อยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 8 กิโลเมตร ออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 4021 ผ่านสามแยกบริเวณสนามกีฬาสุรกุล เลี้ยวซ้ายไปทางห้าแยกฉลอง วัดฉลองจะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงห้าแยกฉลองประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต มีรูปหล่อของหลวงพ่อแช่ม และหลวงพ่อช่วง ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวภูเก็ตทั่วไป

อ่าวฉลอง
อยู่ ห่างตัวเมือง 11 กิโลเมตร ทางทิศใต้ของเกาะภูเก็ตไปตามทางที่ไปหาดราไว เมื่อถึงห้าแยกฉลองเลี้ยวซ้ายประมาณ 1 กิโลเมตรถึงอ่าวฉลอง มีสะพานไม้ทอดยาวไปในทะเล ชายหาดเป็นรูปโค้งยาวเหยียดมองเห็นทิวมะพร้าวริมหาดเอนลู่ออกทะเล ทะเลบริเวณนี้ไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะหาดเป็นโคลน ที่อ่าวฉลองนี้นักท่องเที่ยวจะเช่าเรือไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ หรือเช่าไปตกปลาได้

หาดแหลมกาใหญ่
เป็น หาดเล็กๆ ห่างจากตัวเมือง 16 กิโลเมตร จากห้าแยกฉลอง ใช้ทางหลวง 4024 ทางเข้าอยู่ตรงข้ามวัดสว่างอารมณ์ บริเวณหาดมีเรือให้เช่าไปเที่ยวตามเกาะต่างๆ เช่น เกาะเฮ เกาะบอน เป็นต้น

หาดราไวย์
อยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 17 กิโลเมตร เส้นทางจาห้าแยกฉลองไปสู่หาดราไว (ทางหลวง 4024) เป็นเส้นทางที่สวยที่สุดสายหนึ่งของภูเก็ต หาดราไว เป็นหาดที่สวยงามและมีชาวเลอาศัยอยู่

เกาะแก้ว
อยู่ ห่างจากหาดราไวประมาณ 3 กิโลเมตร นั่งเรือจากหาดราไวประมาณ 30 นาที มีหาดทรายและธรรมชาติใต้น้ำสวยงามมาก บนเกาะมีรอยพระพุทธบาทจำลองประดิษฐานอยู่ด้วย

แหลมพรหมเทพ
อยู่ ห่างจากหาดราไวประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่าแหลมเจ้า บริเวณแหลมพรหมเทพเป็นส่วนที่สวยงามที่สุดส่วนหนึ่งของเกาะภูเก็ต เหนือแหลมพรหมเทพเป็นที่ราบสำหรับจอดรถซึ่งอยู่บนหน้าผาสูงริมทะเล จากหน้าผานี้จะมองเห็นแหลมพรหมเทพทอดยาวออกไปในทะเล จะเห็นเกาะหลายเกาะรวมทั้งเกาะแก้ว ทางด้านขวามือจะเห็นแนวหาดทรายของหาดในหานชัดเจน จากบนหน้าผามีทางเดินลงเขาไปจนถึงสุดแหลมพรหมเทพได้ เป็นสถานที่ชมพระอาทิตย์ตกได้งดงามยิ่งนัก
หาดในหาน
เป็น หาดที่อยู่ถัดจากแหลมพรหมเทพขึ้นไปทางทิศเหนือ อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 18 กิโลเมตร มีทางไปได้หลายทาง จะไปจากหาดราไวโดยผ่านหรือไม่ผ่านแหลมพรหมเทพก็ได้ หรือถ้ามาจากห้าแยกฉลองไปทางหาดราไวประมาณ 3 กิโลเมตร จะมีทางแยกขวาไปบ้านใสยวน หนองหาน ประมาณ 4 กิโลเมตร ชายหาดในหานไม่ยาวนัก หาดทรายขาวสะอาด ด้านหลังของชายหาดเป็นบึง ชาวบ้านเรียกว่าหนองหาน ระหว่างทะเลและบึงมีเพียงหาดทรายของหาดในหานขวางกั้นอยู่เท่านั้น ในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม คลื่นจะแรงมาก ไม่ควรลงเล่นน้ำเพราะอาจเกิดอันตรายได้

อ่าวเสนเป็น อ่าวเล็กๆ ติดกับหาดในหานไปทางขวา ผ่านโรงแรมภูเก็ตยอช์ทคลับ เป็นชายหาดเล็กๆ ที่สงบ มีโขดหินน้อยใหญ่ หาดทรายขาวสะอาด

จุดชมวิว
จาก หาดในหานไปหาดกะตะน้อยตามเส้นทางถนนรอบเกาะ จุดชมวิวจะอยู่ระหว่าง 2 หาดนี้ จากจุดนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเวิ้งอ่าวถึง 3 อ่าว คือ อ่าวกะตะน้อย อ่าวกะตะ และอ่าวกะรน ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่สวยงามมาก

อ่าวกะตะ
อยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 17 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตเมื่อถึงห้าแยกฉลองเลี้ยวขวาไปตามทางตามถนนหมายเลข 4028 อ่าวกะตะแบ่งออกเป็น 2 อ่าวคือ อ่าวกะตะใหญ่ กับอ่าวกะตะน้อย ทั้งสองอ่าวมีหาดทรายและชายหาดที่สวยงามเหมาะแก่การเล่นน้ำ และใช้เป็นที่ฝึกดำน้ำ เนื่องจากมีแนวปะการังติดต่อกันไปจนถึงเกาะปูซึ่งอยู่ด้านหน้าหาดกะตะ ปัจจุบันหาดกะตะ เป็นหาดหนึ่งที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ สถานที่พัก บริษัทนำเที่ยว ร้านค้า แหล่งบันเทิงต่างๆ ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว

อ่าวกะรน
อยู่ ถัดจากอ่าวกะตะขึ้นไปทางเหนือมีเพียงเนินเขาเตี้ยๆ คั่นอยู่เท่านั้น แต่ถ้าจะไปที่กลางอ่าวกะรนและหมู่บ้านกะรน มีถนนแยกจากอ่าวกะตะไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร อ่าวกะรนใหญ่กว่าอ่าวกะตะ มีชายหาดยาวเหยียด เหนือชายหาดเป็นเนินทรายสูงๆ ต่ำๆ มีสนทะเลต้นใหญ่ๆ และต้นตาลขึ้นเรียงรายอยู่โดยทั่วไป หาดทรายที่อ่าวกะรนขาวสะอาดและละเอียดมาก

สถานแสดงพันธ์สัตว์ น้ำ
สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต Phuket Aquarium
เป็น สถานที่จัดแสดงเกี่ยวกับสัตว์น้ำจืด และสัตว์ทะเล มีมากกว่า 100 ชนิดโดย การจัดแสดงในตู้ทรงรูปแบบและขนาดต่างๆและชมการแสดงสัตว์ทะเลในตู้อุโมงค์ที่ จุน้ำทะเล
200 ตัน และตู้ขนาดใหญ่จุน้ำทะเล 140 ตัน แสดงสัตว์ทะเลขนาดใหญ่ ต่างๆมากมาย
ชมการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง อัตราค่าเข้าชม คนไทย
ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 20 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 100 บาท เด็ก 50 บาท
เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่
0-7639-1126 ตั้งอยู่บริเวณปลายสุดของแหลมพันวา อ.เมือง จ.ภูเก็ตเข้าเยี่ยมชม เว็บไซต์ได้ที่ http://www.phuketaquarium.org
โทร. 0-7639-1126 แฟกซ์ 0-7639-1406

สวนผีเสื้อและอควา เรียมภูเก็ต
ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร เดินทางไปตามถนนเยาวราชแล้วเลี้ยวซ้ายที่สามแยกหมู่บ้านสามกองไปเล็กน้อย เป็นสถานที่รวบรวมและอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตในเขตร้อนจำพวกผีเสื้อ แมลง ปลา และปะการัง โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เหมือนกับธรรมชาติ เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 09.00-17.30 น.
หมู่บ้านไทยและสวนกล้วยไม้ภูเก็ต
อยู่ ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร บนถนนเทพกษัตรีย์ ภายในมีการแสดงศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน การแสดงของช้าง ฟาร์มกล้วยไม้ ฯลฯ
สถานที่ น่าสนใจ ในเขตอำเภอกระทู้
อ่าวป่าตอง
ห่าง จากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนวิชิตสงคราม หรือ ทางหลวง 4020 ไป 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวง 4029 ไปอีก 6 กิโลเมตร เป็นอ่าวที่มีความโค้งมาก หาดทรายงดงามเป็นแนวยาว 9 กิโลเมตร น้ำทะเลใสสะอาด เหมาะแก่การเล่นน้ำมากที่สุด
หาดกะหลิม
ไปตาม เส้นทางเดียวกับหาดป่าตอง แต่เมื่อถึงตัวหาดป่าตอง จะมีทางแยกให้เลี้ยวขวาก็จะถึงหาดกะหลิมเป็นหาดเล็กๆ มีโขดหินและแนวปะการังและมีสถานที่พักริมหาด

หาดกมลา
อยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ต 26 กิโลเมตร จากอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีย์ท้าวศรีสุนทร เลี้ยวซ้ายผ่านหาดสุรินทร์ แหลมสิงห์ ก็จะถีงหาดกมลาเป็นแนวหาดทรายยาวประมาณ 2 กิโลเมตร นับเป็นหาดหนึ่งที่สงบเงียบ มีสถานที่พักไม่มากนัก
สถาน ที่น่าสนใจ ในเขตอำเภอถลาง
อนุสาวรีย์ วีรสตรี
อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีย์และท้าวศรีสุนทร ตั้งอยู่ที่สี่แยกท่าเรือ เขตอำเภอถลาง ก่อนถึงตัวเมืองภูเก็ต 12 กิโลเมตร
พิพิธภัณฑสถานแห่ง ชาติถลาง
ตั้งอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์วีรสตรีประมาณ 50 เมตร ตัวอาคารได้รับการออกแบบให้มีรูปทรงเป็นบ้านท้องถิ่นของชาวภูเก็ต มี 2 หลัง อาคารหลังแรกจัดแสดงเรื่องก่อนประวัติศาสตร์ชายฝั่งทะเลตะวันตก สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เมื่ออารยธรรมอินเดียเผยแพร่เข้ามาประวัติและวิธี การทำเหมืองแร่ดีบุก และสวนยางพารา ศิลปะพื้นบ้านและชาติพันธุ์วิทยาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายู สำหรับอาคารหลังที่สองจัดแสดงฉากและเรื่องราวของศึกถลาง ชีวิตความเป็นอยู่และประเพณีที่น่าสนใจของชาวจีนในภูเก็ต และเรื่องราวความเป็นมาและถิ่นอาศัยของชาวเลในภูเก็ต

วัดพระทอง (วัดพระผุด)
อยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 20 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตเลยที่ว่าการอำเภอถลางไปเล็กน้อยจะมีทางแยกขวามือเข้าวัด พระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทองหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฎอยู่จนถึงปัจจุบัน

วัดพระนางสร้าง
อยู่ ห่างจากตัวเมือง 20 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนเทพกษัตรีย์ ถึงสี่แยกอำเภอถลาง ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายเป็นวัดที่เก่าแก่ และเป็นแหล่งประวัติศาสตร์เมืองถลางที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นค่ายสู้รบกับพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328 นอกจากนี้ภายในอุโบสถเก่าแก่ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุดในโลก 3 องค์เรียกว่า “พระในพุง” หรือ “พระสามกษัตริย์” ซึ่งอยู่ในพระอุทรของพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ 3 องค์อีกชั้นหนึ่ง

อุทยานสัตว์ป่าเขาพระ แทว
อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 20 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตไปอำเภอถลาง เมื่อถึงสี่แยกในเขตเมืองถลางซึ่งอยู่ห่างจากตัวภูเก็ต 18 กิโลเมตร แยกไปทางซ้ายมืออีกประมาณ 2 กิโลเมตร ได้รับการจัดตั้งเป็นอุทยานสัตว์ป่า เมื่อเดือนกรกฎาคม 2512 มีเนื้อที่ 13,925 ไร่ เป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีสัตว์ป่าหลายชนิดอยู่ตามธรรมชาติ และมีพันธุ์ไม้หายากคือ “ปาล์มหลังขาว” โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ดังนี้

น้ำตกโตนไทร
อยู่ ห่างจากตัวเมือง 22 กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีย์ถึงสี่แยกอำเภอถลางแล้วเลี้ยวขวาไป 3 กิโลเมตร ก็จะถึงบริเวณน้ำตกโตนไทร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก น้ำจะไหลแรงในช่วงฤดูฝน มีต้นไม้ใหญ่น้อยร่มรื่นเหมาะแก่การพักผ่อน

น้ำตกบางแป
ไป จากตัวเมืองถึงอนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีย์ท้าวศรีสุนทรแล้วเลี้ยวขวาไปทาง ตำบลป่าคลอก 7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็ก มีสวนรุกขชาติร่มรื่น และสถานอนุบาลชะนี ซึ่งเป็นโครงการเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของชะนีที่ถูกจับมาเลี้ยง ให้พร้อมที่จะกลับคืนสู่ป่าต่อไป

สำหรับผู้ที่ต้องการเดินป่าสัมผัส ธรรมชาติ ทางอุทยานฯ ได้จัดทำทางเดินเท้าไว้ 3 เส้นทาง ขอคำแนะนำได้จากเจ้าหน้าที่ศูนย์ศึกษาธรรมชาติในเขตอุทยานฯ

นักท่องเที่ยวผู้ที่ประสงค์จะเข้าพักแรม ที่อุทยานสัตว์ป่าเขาพระแทว ต้องทำหนังสือขออนุญาตถึงผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมป่าไม้ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 579-4847 หรือติดต่อโดยตรงที่หัวหน้าอุทยานสัตว์ป่าเขาพระแทว ที่ทำการอุทยานสัตว์ป่าเขาพระแทว ถนนเทพกษัตรีย์ อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83100

หาดสุรินทร์
อยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 24 กิโลเมตร จากตัวเมืองภูเก็ตใช้เส้นทาง 402 เมื่อถึงอนุสาวรีย์วีรสตรีแล้วไปทางซ้ายมืออีก 12 กิโลเมตร เป็นหาดที่อยู่ริมเชิงเขา บริเวณเหนือหาดมีต้นสนทะเลต้นใหญ่ๆ อยู่เรียงราย และบริเวณเหนือหาดด้านขวามือเป็นสนามกอล์ฟ หาดสุรินทร์ชายหาดไม่เหมาะแก่การเล่นน้ำ เพราะมีลักษณะลาดชัน และในฤดูมรสุมจะมีคลื่นลมจัดมาก

แหลมสิงห์
จาก หาดสุรินทร์ประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซึ่งเป็นถนนส่วนบุคคลเข้าสู่หาดแหลมสิงห์ อาจจะขออนุญาตผ่านถนนส่วนบุคคล หรือเดินเลี่ยงไปอีกทางหนึ่งซึ่งเป็นทางเดินไปตามลาดเขาลงสู่ชายหาด หาดทรายแหลมสิงห์เป็นหาดเล็กๆ ทรายขาวสะอาด ทางซ้ายมือของหาดเป็นแหลมเล็กๆ ที่มีโขดหินสวยงาม เรียกว่า แหลมสิงห์

อ่าวบางเทา
อยู่ ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 24 กิโลเมตร ตามถนนเทพกษัตรีย์ไปทางเหนือสู่อนุสาวรีย์ท้าวเทพกษัตรีย์ท้าวศรีสุนทร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนศรีสุนทรไปอีก 12 กิโลเมตร จนถึงหาดสุรินทร์เลี้ยวขวาไปอีก 2 กิโลเมตร ถึงอ่าวบางเทา เป็นหาดทรายทอดตัวยาวเหมาะสำหรับการเล่นน้ำและกีฬาทางน้ำต่างๆ


เทศกาล งานประเพณี

งานท้าวเทพกษัตรีย์-ท้าว ศรีสุนทร ภูเก็ต
ตรง กับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการจัดงานเฉลิมฉลอง มีกิจกรรมต่างๆ มากมาย เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมืองถลางให้ รอดพ้นจากข้าศึกพม่าและสดุดีในวีรกรรมของท่าน

เทศกาลอาหารทะเล
จัด ขึ้นประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี มีวัตถุประสงค์ที่จะเผยแพร่อาหารทะเลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดภูเก็ต ชักชวนให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาท่องเที่ยวภูเก็ตในฤดูฝน กิจกรรมของงานมีการประกวดขบวนแห่ทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเล การออกร้านจำหน่ายอาหารทะเล การสาธิตอาหารประจำภาค การแสดงศิลปวัฒนธรรมของภาคต่างๆ

เทศกาลกินเจ
กำหนด จัดในวันขึ้น 1-9 ค่ำ เดือน 9 ของจีน จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี ระหว่างถือศีลกินผัก ชาวบ้านจะไปรับอาหารจากศาลเจ้า มีพิธีกรรมตามความเชื่อ เช่น ลุยไฟ ไต่บันไดมีด ฯลฯ มีการแห่เจ้าไปตามถนนต่างๆ โดยชาวบ้านสองฝั่งถนนจะจุดปะทัดตลอดสาย ประเพณี กินเจนี้ถือว่าเป็นการอุทิศความดีให้กับพระและเทวดาฟ้าดินเพื่อให้พระคุ้ม ครองชาวภูเก็ตและเกาะภูเก็ตตลอดไป

งานประเพณีปล่อยปลา
ตรง กับวันที่ 13 เมษายน หรือวันสงกรานต์ของทุกปี กรมประมงได้กำหนดให้เป็นวันประมงแห่งชาติ มีประเพณีปล่อยลูกเต่าลงทะเลโดยจะจัดงานในบริเวณหาดต่างๆ ในภูเก็ต

งานประเพณีลอยเรือชาวเล
จะ มีพิธีในกลางเดือน 6 และ 11 ของทุกปี โดยกลุ่มชาวเลที่หาดราไวและบ้านสะปำจะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 13 ค่ำ และกลุ่มชาวเลที่แหลมหลา (ทางตอนเหนือของเกาะภูเก็ต) จะมีพิธีลอยเรือในวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งถือเป็นพิธีสะเดาะเคราะห์ของชาวเลคล้ายกับพิธีลอยกระทงของชาวไทย มีการสร้างเรือจากไม้ระกำ ตัดผมตัดเล็บ และทำตุ๊กตาไม้แทนคน ใส่ลงไปในเรือ แล้วนำไปลอยเพื่อนำเอาความทุกข์โศก เคราะห์ร้ายต่างๆ ออกไปกับทะเล แล้วมีการร่ายรำรอบเรือ หรือที่เรียกว่า “รำรองเง็ง” นั่นเอง

งานผ้อต่อ
เป็น งานประเพณีของชาวภูเก็ตที่มีเชื่อสายจีน จะมีพิธีในช่วงเดือน 7 ของจีน หรือเดือน 9 ของไทย โดยมีพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ด้วยเครื่องบวงสรวง เป็นขนมชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งเป็นรูปเต่าขนาดใหญ่บ้างเล็กบ้างทาสีแดง ซึ่งคนจีนเชื่อว่าเต่าเป็นสัตว์ที่มีอายุยืน ดังนั้นการไหว้เต่าจึงเป็นการต่ออายุให้ตนเอง และถือเป็นกุศลที่ยิ่งใหญ่

เทศกาลเปิดฤดูกาลท่อง เที่ยว จังหวัดภูเก็ต
ตรงกับวันที่ 1 พฤศจิกายน โดยเริ่มจัดงานครั้งแรกเมื่อปี 2528 ณ หาดป่าตอง เพื่อต้อนรับฤดูการท่องเที่ยวที่เวียนมาถึงอีกครั้ง และเป็นการส่งเสริมความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบธุรกิจสาขาต่างๆ หน่วยงานราชการและประชาชน ในงานมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย อาทิ พิธีตักบาตรในตอนเช้า การแข่งขันกีฬาทางน้ำ การประกวดสาวงามจากนักท่องเที่ยวต่างๆ เป็นต้น

งานแข่งขันเรือใบชิงถ้วย พระราชทาน
เริ่มมีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2530 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ และหลังจากนั้นจึงถือกำหนดจัดงานขึ้นในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา ซึ่งตรงกับวันที่ 5 ธันวาคมของทุกปี โดยมีเรือใบจากนานาประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการแข่งขันบริเวณหาดในหานเพื่อชิง ถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

อาหารพื้นเมือง จังหวัดภูเก็ต

อาหารพื้นเมือง ภูเก็ต
ภูเก็ต มีอาหารพื้นเมืองทั้งคาวหวานมากมายหลายชนิด มีรูปแบบวิธีการปรุงและรสชาติที่มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเอง สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาลิ้มลองรสชาติและซื้อกลับไปเป็นของฝากเสมอ อาหารเหล่านี้ได้แก่

ขนมจีนภูเก็ต นิยมรับประทานเป็นอาหารเช้า มีน้ำแกงให้เลือกหลายประเภท เช่น น้ำซุป น้ำยา แกงไตปลา โดยรับประทานกับผักนานาชนิดพร้อมทั้งไข่ต้ม ปาท่องโก๋ และห่อหมก

เต้าซ้อ หรือขนมเปี๊ยะภูเก็ต
น้ำซุปภูเก็ต เป็นน้ำพริกกะปิน้ำใสๆ ใส่กุ้งสด หัวหอม พริก และมะนาว รับประทานกับข้าวหรือขนมจีน
น้ำพริกกุ้งเสียบ เป็นน้ำพริกแห้งตำกับกุ้งเสียบ รับประทานคู่กับผักสดต่างๆ
โลบะ เป็นเครื่องในหมูปรุงกับเครื่องพะโล้ นำมาทอดรับประทานกับเต้าหู้ทอดราน้ำจิ้ม
หมี่ฮกเกี้ยน เป็นเส้นหมี่เหลืองผัดซีอิ๊ว
หมี่หุ้นปาฉ่าง เป็นเส้นหมี่แห้งรับประทานกับน้ำต้มกระดูก
หมี่สั่ว เป็นอาหารเช้าของชาวภูเก็ต จะขายพร้อมกับข้าวต้ม หรือโจ๊ก
โอเต๊า ลักษณะคล้ายกับหอยทอดภาคกลาง ใช้หอยนางรมผัดกับแป้ง เผือก และไข่
โอ๊ะเอ๋ว เป็นของหวานคล้ายวุ้นน้ำเชื่อมใส่น้ำแข็ง ทำมาจากกล้วยน้ำว้าผสมกับสาหร่ายทะเลชนิดหนึ่ง

เม็ดมะม่วงหิมพานต์ ต้นมะม่วงหิมพานต์เป็นต้นไม้พื้นเมืองที่นิยมปลูกกันมากในภูเก็ต ดังนั้นเม็ดมะม่วงหิมพานต์จึงถือเป็นผลิตภัณฑ์อาหารอย่างหนึ่งที่นิยมซื้อ กันเป็นของฝากทั้งในรูปอบแห้ง ทอด ฉาบ และอื่นๆ

สับปะรดภูเก็ต เป็นสับปะรดพันธุ์พื้นเมืองที่มีรสชาติหวานกรอบ อร่อย ต่างกับสับปะรดที่อื่น หาซื้อได้ที่ตลาดสดทั่วไป

สินค้าที่ระลึก
นอก จากอาหารพื้นเมืองแล้ว ภูเก็ตยังมีสินค้าที่ระลึกอื่นๆ อีก อาทิ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล เครื่องดีบุก เครื่องเขิน เครื่องหวาย ผ้าไหม เป็นต้น ซึ่งจะมีแหล่งร้านขายสินค้าที่ระลึกในตัวเมือง บริเวณถนนรัษฎา ถนนพังงา ถนนมนตรี เป็นต้น หรือบริเวณหาดต่างๆ อาทิ หาดราไว แหลมพรหมเทพ หาดกะตะ หาดกะรน หาดป่าตอง หาดสุรินทร์ เป็นต้น

ข้อมูลการเดินทาง

รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางสายธนบุรี-ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) ผ่านจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ข้ามสะพานสารสิน เข้าจังหวัดภูเก็ต ระยะทาง 862 กิโลเมตร

รถ โดยสารประจำทาง
บริษัท ขนส่ง จำกัด มีรถโดยสารทั้งรถธรรมดา และรถปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ไปภูเก็ตทุกวัน สอบถามรายละเอียด โทร. 0 2434 7192 (รถปรับอากาศ) และโทร. 0 2434 5557-8 (รถธรรมดา) หรือ www.transport.co.th บริษัทเอกชน ติดต่อ บริษัท ภูเก็ต เซ็นทรัล ทัวร์ กรุงเทพฯ โทร. 0 2434 3233 ภูเก็ต โทร. 0 7621 3615, 0 7621 4335 และบริษัท ภูเก็ตท่องเที่ยว กรุงเทพฯ โทร. 0 2435 5018, 0 2435 5034 ภูเก็ต โทร. 0 7622 2107-9 สถานีขนส่งภูเก็ต โทร. 0 7621 1480

รถไฟ
ไม่มีบริการรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปภูเก็ตโดยตรง หากต้องการเดินทางโดยรถไฟต้องไปลงที่สถานีรถไฟพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วต่อรถประจำทางเข้าจังหวัดภูเก็ต สอบถามรายละเอียดได้ที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2223 7010, 0 2223 7020, 0 2220 4334 หรือ www.railway.co.th

เครื่อง บิน
มีบริการเที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ-ภูเก็ตทุก วัน สอบถามตารางบิน และข้อมูลเพิ่มเติมที่สายการบินต่างๆ ดังนี้
1. การบินไทย โทร. 1566, 0 2280 0060, 0 2628 2000 สำนักงานภูเก็ต โทร. 0 7621 1195, 0 7621 2499, 0 7621 2946 หรือ www.thaiairways.com
2. ภูเก็ตแอร์ โทร. 0 2679 8999 หรือ www.phuketairlines.com
3. บางกอกแอร์เวส์ โทร. 0 2265 5555 หรือ www.bankgkokair.com
4. ไทยแอร์เอเชีย โทร. 0 2515 9999 หรือ www.airasia.com
5. โอเรียนไทยแอร์ไลน์ โทร.0 2267 2999 หรือ www.orient-thai.com
6. นกแอร์ โทร. 1318 หรือ www.nokair.co.th

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตรัง


คำขวัญจังหวัดตรัง : เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ประการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา
ตรัง หรือเมืองทับเที่ยง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารา โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี นำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมื่อ พ.ศ. 2442 และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ตรังมีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำตรัง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง และแม่น้ำปะเหลียน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัดตรัง เป็นจังหวัดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีฝั่งทะเลยาวทางด้านตะวันตก ประมาณ ๑๑๙ กิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะในทะเลอันดามันที่อยู่ในการปกครองกว่า ๔๖ เกาะ ภายในพื้นที่อำเภอกันตัง ๑๒ เกาะ อำเภอปะเหลียน ๑๓ เกาะ และอำเภอสิเกา ๒๑ เกาะ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว คือระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤษภาคมของปีตรัง มีพื้นที่รวม ๔,๙๔๑ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอรัษฎา และอำเภอหาดสำราญ
อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอคลองท่อม
ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดสตูลและมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดพัทลุงทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดกระบี่และมหาสมุทรอินเดีย

การเดินทางรถยนต์
ทางหลวงหมายเลข ๔ กรุงเทพฯ-ชุมพร เข้าทางหลวงหมายเลข ๔๑ สุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง-ห้วยยอด-ตรัง ระยะทาง ๘๒๘ กิโลเมตร
ทางหลวงหมายเลข ๔ กรุงเทพฯ-ชุมพร แยกเข้าระนอง-พังงา-กระบี่-ตรัง ระยะทาง ๑,๐๒๐ กิโลเมตร
รถไฟ มีรถเร็วและรถ ด่วนออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงสถานีตรังทุกวัน ระยะทาง ๘๗๐ กิโลเมตร ใช้เวลา ๑๕ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐ หรือสถานีรถไฟตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๘๐๑๒รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ กรุงเทพฯ - ตรังทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๙ (รถปรับอากาศ) และโทร. ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ (รถโดยสารธรรมดา) หรือ บริษัท ขนส่ง จังหวัดตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๘๗๑๘
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดตรังทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ หรือ การบินไทย สาขาตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๙๙๒๓, ๐ ๗๕๒๑ ๘๐๖๖

ในตัวเมืองตรังมีรถสามล้อเครื่อง หรือตุ๊กตุ๊ก บริการในเขตเทศบาล หากเดินทางติดต่อระหว่างอำเภอมีบริการรถประจำทาง และรถสองแถวเล็ก หรือเดินทางโดยรถตู้ซึ่งเช่าได้จากบริษัททัวร์ในตัวเมืองตรัง
ระยะทางระหว่างอำเภอเมืองและอำเภอต่างๆ
อำเภอห้วยยอด ๒๘ กิโลเมตรอำเภอกันตัง ๒๔ กิโลเมตรอำเภอย่านตาขาว ๒๓ กิโลเมตร
อำเภอปะเหลียน ๔๗ กิโลเมตร
อำเภอสิเกา ๓๓ กิโลเมตร
อำเภอวังวิเศษ ๖๐ กิโลเมตรอำเภอนาโยง ๑๐ กิโลเมตร
อำเภอรัษฎา ๔๗ กิโลเมตร
อำเภอหาดสำราญ ๔๕ กิโลเมตร

การเดินทางจากตรังไปจังหวัดใกล้เคียงมีบริการรถโดยสารประจำทาง และรถยนต์รับจ้างจากตัวเมืองตรังไปจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่
ตรัง-นครศรีธรรมราช ๑๒๓ กิโลเมตรตรัง-สตูล ๑๓๔ กิโลเมตร
ตรัง-พัทลุง ๕๖ กิโลเมตร
ตรัง-กระบี่ ๑๓๑ กิโลเมตร
ตรัง-หาดใหญ่ ๑๔๘ กิโลเมตรตรัง-ภูเก็ต ๓๑๒ กิโลเมตร
ตรัง-พังงา ๒๒๑ กิโลเมตร
ตรัง-สุราษฎร์ธานี ๒๒๖ กิโลเมตร
ตรัง-ชุมพร ๓๗๘ กิโลเมตรตรัง-สงขลา ๑๗๖ กิโลเมตร

งานเทศกาล
งานเทศกาลกินเจ เป็นงานประเพณีดั้งเดิมของชาวจีนในจังหวัดตรัง จะมีขึ้นในวันขึ้น ๑-๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน (ประมาณเดือนตุลาคม) โดยถือเอาวันขึ้น ๖ ค่ำ เป็นวันสำคัญที่สุดของงาน ในงานจะจัดขบวนแห่เจ้าอย่างมโหฬารไปรอบๆ เมือง มีพิธีไหว้เจ้าและลุยไฟ และจะมีชาวจีนนุ่งขาวห่มขาวไปถือศีลกินเจตามศาลเจ้าต่างๆ เป็นเวลา ๙ วัน
งาน เทศกาลขนมเค้ก ชาวตรังมีชื่อเสียงในการทำขนมเค้กมาช้านาน โดยเฉพาะที่บ้านลำภูรา เป็นแหล่งผลิตขนมเค้กมาแต่ดั้งเดิม เอกลักษณ์ของขนมเค้กของชาวตรังจะไม่ใช้ครีมตกแต่งหน้าเค้ก มีหลายรส เช่น เค้กส้ม เค้กกาแฟ เค้กสามรส และจัดงานเทศกาลขนมเค้กเป็นประจำทุกปี กำหนดจัดงานจะอยู่ช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี บริเวณถนนสถานี
งานเทศกาลหมูย่างจังหวัด ตรัง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง จัดขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปี ภายในงานจะมีหมูย่างสูตรพิเศษของเมืองตรังจากร้านต่างๆ ในจังหวัด งานจัดบริเวณสี่แยกธรรมรินทร์ ถนนสถานี
งานเทศกาลหอยตะเภา เป็นเทศกาลที่มุ่งส่งเสริมการอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานจัดบริเวณชายหาดปากเมง ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
วัฒนธรรม ท้องถิ่น
มโนราห์หรือโนรา ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้โดยเฉพาะ มีท่ารำอ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฎิภาณไหวพริบสรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี ประกอบด้วยกลอง ทับคู่ ฉิ่ง โหม่ง ปี่ชวาและกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วยหนังตะลุง ศิลปะ การแสดงพื้นบ้านที่นิยมกันมากทั่วภาคใต้ ใช้หนังสัตว์แกะเป็นรูปตัวละคร ตัวแสดงต่าง ๆ เช่น ฤาษี เจ้าเมือง ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวตลก เป็นต้น นำรูปหนังเชิดหลังจอผ่านแสงไฟส่องทำให้เกิดภาพสีและเงาปรากฎบนจอ นายหนังหรือผู้เชิดหนังตะลุง จะเป็นผู้ขับกลอนหรือพากษ์ไปด้วย จะเป็นผู้ที่มีไหวพริบเป็นเลิศและจะพากษ์คนเดียวตลอดเรื่อง เครื่องดนตรีเช่นเดียวกับมโนราห์ อาจเพิ่มซออู้ หรือซอด้วงไปด้วย
ลิเกป่า ลิเก บกหรือลิเกรำมะนาต่างจากลิเกโรงทั่วไป เพราะจะแต่งกายด้วยชุดธรรมดาไม่ใช่ชุดลิเก นิยมในหมู่ชาวไทยอิสลาม ใช้ผู้แสดง ๓ คนในฉากเดียวตลอดเรื่อง เปลี่ยนแปลงเฉพาะชื่อสถานที่ตามที่ไปแสดงเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศนั้น ๆ เครื่องดนตรีจะมีรำมะนาด ๒-๓ ใบ ฉิ่ง โหม่ง ฆ้อง ปี่ชวา
ช้อป ปิ้ง - ของฝาก
จังหวัดตรังมีสินค้าพื้นเมืองเป็นของฝากของที่ระลึก คือ เสื่อเตยหรือเสื่อปาหนัน หมุก (ภาชนะใส่ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ) ผลิตภัณฑ์เครื่องหนังปลากระเบน เช่น กระเป๋า รองเท้า จักสานต้นก้านธูปฤาษี ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักเทพธาโรและไม้สะเดาเทียม บ้านหนองปรือ ผลิตภัณฑ์ของเล่นจากไม้ยางพาราและผ้าทอพื้นเมืองนาหมื่นศรี และยังมีสินค้าพื้นเมืองจำพวกขนมและอาหาร ได้แก่ หมูย่างสูตรเมืองตรัง ขนมเค้กลำภูรา อำเภอห้วยยอด กาแฟเขาช่อง กะปิท่าข้ามและทุเรียนก้านยาว อำเภอปะเหลียน หอยนางรมสด อำเภอกันตัง เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๘๖๙๙, ๐ ๗๕๒๑ ๒๘๔๑
ร้าน จำหน่ายของที่ระลึก
ตรัง ไฮ-คลบาส ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หนังปลากระเบน โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๑๑๖๗
แพลนทอยส์ จำหน่ายของเด็กเล่นที่ทำจากไม้ยางพารา อำเภอย่านตาขาว โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๒๙๔๘
ร้านเจ้าบ้าน จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ถนนวิเศษกุล (ข้างภัตตาคารโกยาว) โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๖๙๖๒, ๐ ๑๖๐๖ ๐๔๙๒
ศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ถนนตรัง-พัทลุง (ข้างจวนผู้ว่าฯ) โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๕๓๙๕


วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553

พังงา


คำขวัญจังหวัดพังงา :แร่หมื่น ล้าน บ้านกลางน้ำ ถ้ำงามตา ภูผาแปลก แมกไม้จำปูน บริบูรณ์ด้วยทรัพยากร

พังงาคือจังหวัดที่เต็มไปด้วยแหล่งท่องเที่ยวมากมาย ทั้งบนบกและใต้น้ำ โดยเฉพาะกลุ่มเกาะสวยงามที่วางตัวเรียงรายอยู่ในทะเลอันดามัน จนพังงาได้รับสมญานามว่าเป็นดินแดนแห่งป่าเกาะ รวมทั้งยังมีผืนป่าชายเลนหนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย พังงาเต็มไปด้วยวิถีชีวิตที่น่าสนใจ โดยเฉพาะเรื่องราวของผู้คนหลากเชื้อชาติ ทั้งไทย จีน มุสลิม และชาวไทยใหม่ (ชาวเล) ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเก่าแก่ที่น่าสนใจ เช่น เกาะปันหยี เกาะยาว หมู่บ้านชาวมอแกนในบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ ชุมชนชาวเหมืองแร่ที่ตะกั่วป่า ฯลฯ
นอกจากนั้น พังงายังเต็มไปด้วยแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์ เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก เช่น โลกใต้น้ำของหมู่เกาะสิมิลัน ดงปะการังหลากหลายและฝูงปลาน้อยใหญ่ใต้ทะเลหมู่เกาะสุรินทร์ เขาตาปู เขาพิงกัน เกาะพระทอง ฯลฯ ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นทรัพยากรล้ำค่าที่ทำให้พังงาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทาง ของนักท่องเที่ยวเสมอมา
จังหวัดพังงามีเนื้อที่ประมาณ 4,171 ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศ คือ ฝั่งตะวันตกติดทะเลอันดามัน ส่วนบนบกนั้นส่วนใหญ่เป็นเทือกเขา พื้นที่ป่าเป็นป่าดงดิบ สภาพภูมิประเทศที่หลากหลายและสวยงามนี้เองที่ก่อให้เกิดมูลค่าทางการท่อง เที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มเกาะ เช่น หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวประเภทอื่น คือ หาดทรายชายทะเล ป่าดิบ ป่าชายเลน น้ำตก และโถงถ้ำ

พังงาเริ่มต้นความเป็นมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานที่ขุดค้นพบมีทั้งเครื่องมือหิน ภาพเขียนสีในถ้ำ อาวุธที่ทำจากกระดูกสัตว์ ภาชนะดินเผา ฯลฯ หลักฐานสำคัญอย่างหนึ่งที่สนับสนุนว่าพังงาเป็นเมืองเก่าแก่ คือเครื่องปั้นดินเผาและกำไลหิน อายุ 3,000-4,000 ปี ที่พบในถ้ำสุวรรณคูหา
ในสมัยประวัติศาสตร์ พบหลักฐานว่า ชาวกลิงคราฐหลบหนีการโจมตีของพระเจ้าอโศกมหาราชอยู่ในบริเวณริมทะเลแถวเมือง ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และถลาง ครั้นถึง พ.ศ. 300 ชาวอินเดียที่หนีมาได้นำศิลปวัฒนธรรมมาด้วย โดยมีการพบรูปสลักหินพระลักษมณ์ พระราม และนางสีดา ในบริเวณเมืองเก่าของตะกั่วป่า และในหนังสือมิลินทปัญหา ชาวอินเดียเรียกตะกั่วป่าว่าตะโกลา หรือตกโกล ซึ่งแปลว่าลูกกระวาน ปัจจุบันนี้คนเฒ่าคนแก่ก็ยังเรียกบริเวณนี้ว่าเมืองตะโกลา
ล่วงมาจนถึงสมัยอยุธยา พังงามีฐานะเป็นเมืองแขวง ขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 1 ได้รับการยกฐานะให้เป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 2 พม่ามาตีเมืองตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง และถลาง จึงมีการย้ายผู้คนมาอยู่ที่ตำบลกราภูงา ซึ่งอยู่ตรงปากน้ำพังงา และตั้งชื่อเมืองว่าภูงา ขึ้นกับเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมาคำว่าภูงาเพี้ยนเป็นพังงา
จนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 เมืองพังงา ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ กระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการยุบเมืองตะกั่วป่าขึ้นกับเมืองพังงา หลังจากนั้น พังงาก็ได้รับการยกฐานะเป็นจังหวัดในสมัยรัชกาลที่ 6 ทว่าช่วงที่เมืองรุ่งเรืองอย่างที่สุดนั้นอยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะกิจการเหมืองแร่ดีบุกในพังงาเจริญก้าวหน้ามาก
หลังจากหมดยุคเหมืองแร่ พังงาก็กลับสู่ความเงียบสงบ กระทั่งกองถ่ายภาพยนตร์เรื่องเจมส์บอนด์เลือกอ่าวพังงาเป็นฉากถ่ายทำเมื่อปี พ.ศ. 2517 ความงดงามของภูมิประเทศจึงถูกเผยแพร่ไปทั่วโลก จากวันนั้นเอง พังงาก็เติบโตขึ้นในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่งดงาม
จังหวัดพังงาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพังงา อำเภอกะปง อำเภอเกาะยาว อำเภอคุระบุรี อำเภอตะกั่วทุ่ง อำเภอตะกั่วป่า อำเภอทับปุด และอำเภอท้ายเหมือง

การเดินทางไป พังงา
รถยนต์:จากกรุงเทพฯ ไปพังงาได้ 2 เส้นทาง คือ
1. ใช้ทางหลวงหมายเลข 32 (ธนบุรี-ปากท่อ) แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง จนเข้าเขตอำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เมื่อถึงตำบลโคกกลอย อำเภอท้ายเหมือง เลี้ยวซ้ายไปทางอำเภอตะกั่วทุ่ง เพื่อเข้าสู่อำเภอเมืองพังงา รวมระยะทางจากกรุงเทพฯ 788 กิโลเมตร
2. ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 (เพชรเกษม) ไปจนถึงจังหวัดชุมพร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านอำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วแยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 401 จนถึงบ้านตาขุน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วใช้ทางหลวงหมายเลข 415 ผ่านอำเภอทับปุดสู่ตัวเมืองพังงา
โดยรถประจำทาง:มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-พังงา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 10 ชั่วโมง
สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th
ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com นอกจากนี้ยังสามารถซื้อตั๋วออนไลน์ได้ที่ไทยรูท ดอทคอม www.thairoute.com

การเดินทางภายใน พังงา
ในตัวเมืองพังงา มีรถโดยสารประจำทางไปยังอำเภอต่างๆ ได้อย่างสะดวก นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะได้หลายรูปแบบตามอัธยาศัย สอบถามรายละเอียดได้ที่สถานีขนส่งพังงา โทร. 0 7641 2300 นอกจากนี้ยังมีรถสองแถวไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น ถ้ำพุงช้าง ถ้ำฤาษีสวรรค์ ฯลฯ คิวรถสองแถวและรถตู้ส่วนใหญ่อยู่ในตัวเมืองและบริเวณสถานีขนส่งพังงา
นอกจากเส้นทางบนบก ยังมีท่าเรือสำหรับไปเที่ยวเกาะหลายแห่ง เช่น ไปเที่ยวอ่าวพังงา ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา ท่าเรือท่าด่านศุลกากร เป็นท่าที่อยู่ใกล้ตัวเมืองที่สุด ท่าเรือสุระกุล (ท่าเรือกระโสม) อยู่ในอำเภอตะกั่วทุ่ง ไปหมู่เกาะสุรินทร์หรือเกาะพระทอง ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือคุระบุรี ไปหมู่เกาะสิมิลัน ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือทับละมุ ไปเกาะยาวน้อย-เกาะยาวใหญ่ ติดต่อเรือได้ที่ท่าเรือท่าด่านศุลกากร เป็นต้น
ระยะทางจากอำเภอเมืองพังงาไปยังอำเภอต่างๆ คือ
อำเภอตะกั่วทุ่ง 12 กิโลเมตร
อำเภอทับปุด 26 กิโลเมตร
อำเภอกะปง 47 กิโลเมตร
อำเภอท้ายเหมือง 57 กิโลเมตร
อำเภอตะกั่วป่า 65 กิโลเมตร
อำเภอคุระบุรี 125 กิโลเมตร
อำเภอเกาะยาว 138 กิโลเมตร

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มารู้จัก "กระบี่"กันเถอะ


คำขวัญประจำจังหวัด กระบี่ : "แหล่งถ่านหิน ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน สวรรค์เกาะพีพี"

กระบี่ เมืองชายทะเลในฝันงดงามด้วยหาดทรายขาว น้ำทะเลใส ปะการังสวย ถ้ำโตรกชะโงกผา และหมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 100 เกาะ รวมกันเป็นมนต์เสน่ห์ที่สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวที่มา เยือนกระบี่
กระบี่เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 814 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 4,708 ตารางกิโลเมตร กระบี่ ประกอบด้วยภูเขา ที่ดอน ที่ราบ หมู่เกาะน้อยใหญ่กว่า 130 เกาะ อุดมไปด้วยป่าชายเลน ตัวเมืองกระบี่มีแม่น้ำยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ไหลผ่านลงสู่ทะเลอันดามันที่ตำบลปากน้ำ นอกจากนี้ยังมีคลองปกาสัย คลองกระบี่ใหญ่ และคลองกระบี่น้อย มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดกระบี่ คือ เทือกเขาพนมเบญจา จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองกระบี่เคยเป็นแหล่งชุมชนโบราณที่เก่าแก่มากแห่ง หนึ่งในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ กล่าวกันว่าดินแดนนี้แต่เดิมคือเมืองบันไทยสมอ 1 ใน 12 เมืองนักษัตรที่ใช้ตราลิงเป็นตราประจำเมือง ขึ้นกับอาณาจักรนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับชื่อเมืองกระบี่ว่า อาจมาจากความหมายที่แปลว่าดาบ เนื่องจากมีตำนานเล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับการขุดพบมีดดาบโบราณก่อนที่จะ สร้างเมือง

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ทิศใต้ ติดกับจังหวัดตรังและทะเลอันดามัน
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดนครศรีธรรมราช
ทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดพังงาและทะเลอันดามัน

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ โทร. 0 7562 2163
สำนักงานจังหวัด โทร.0 7561 1381
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร.0 7561 2611
สถานีตำรวจภูธร โทร.0 7561 1222
ที่ทำการไปรษณีย์-โทรเลข โทร.0 7561 1050
สถานีขนส่ง โทร.0 7561 1804
ที่ทำการตรวจคนเข้าเมือง โทร.0 7561 1097
กรมศุลกากร โทร.0 7561 1350
โรงพยาบาลกระบี่ โทร.0 7561 1227, 1669
ตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารเครื่องบิน โทร.0 7561 1348. 0 7561 1389
ททท. สำนักงานจังหวัดกระบี่ โทร. 0 7562 2163

Link ที่น่าสนใจ

สำนักงานจังหวัดกระบี่ โทร. 0 7561 1381
http://www.krabi.go.th

วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รู้จัก "สตูล" มั๊ย?


คำขวัญ ประจำจังหวัด
"สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์"

สตูล เป็นจังหวัดทางภาคใต้ของไทย ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันตก และมีพื้นที่ติดชายแดนไทย – มาเลเซีย ลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นเนินสูง ที่ราบป่าเขาและห้วยน้ำลำธาร ทางด้านตะวันออกของพื้นที่ ตอนกลางใกล้ชายทะเลเป็นที่ราบ มีภูเขาและที่ราบลุ่ม ส่วนชายฝั่งทะเลเป็นที่ราบและป่าชายเลนน้ำท่วมถึง มีป่าโกงกางและไม้แสม ด้านทิศตะวันตกรายล้อมไปด้วยทิวทัศน์อันสวยงามกว่าแปดสิบเกาะ ที่รู้จักกันดีและมีชื่อเสียง คือ หมู่เกาะตะรุเตา หมู่เกาะอาดัง-ราวี หลีเป๊ะ และหมู่เกาะเภตรา

สตูล อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 971 กิโลเมตร ขนาดพื้นที่ 2,478 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาว 144.8 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม สตูลแบ่งการปกครองออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอควนโดน อำเภอท่าแพ อำเภอควนกาหลง อำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอมะนัง

คำว่า สตูล : มาจากคำภาษามาลายูว่า “สโตย” แปลว่า กระท้อน หรือต้นกระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ที่ขึ้นชุกชุมในท้องที่ โดยชาวมาเลเซียจะเรียกจังหวัดสตูลว่า “นัครีสโตย” ซึ่งมีความหมายเดียวกันกับกระท้อน ต่อมาสตูล ได้รับการขนานนามว่า “ นครสโตยมำบังสการา” Negeri Setoi Mumbang Segara แปลเป็นไทยว่า เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ของจังหวัดมาจนถึงปัจจุบัน
อาณาเขต ทิศเหนือ ติดอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง และอำเภอปะเหลียนจังหวัดตรัง
ทิศใต้ ติดรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซีย
ทิศตะวันออก ติดอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา และรัฐเปอร์ลิส ประเทศมาเลเซียทิศตะวันตก ติดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย

วัฒนธรรมประเพณีที่น่าสนใจของคนในท้องถิ่น

ประเพณีไหว้พระจันทร์ของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ

ประวัติ / ความเป็นมา
ประเพณีไหว้พระจันทร์ เป็นประเพณีดั้งเดิมของชาวเลเกาะหลีเป๊ะ ทำคู่กับประเพณีเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ฝังไว้ตามสุสาน กระทำในวันขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน ในหมู่บ้านบนเกาะหลีเป๊ะ มีเจ้าภาพจัดทำอาหารผลัดเปลี่ยนกันทุกเดือน เดือนละหนึ่งครอบครัว จุดมุ่งหมายของประเพณีนี้ก็เพื่อไหว้บรรพบุรุษและขอพรจากพระจันทร์

ปัจจุบันประเพณีไหว้พระจันทร์ของชาวเล เกาะหลีเป๊ะนี้ ได้แพร่กระจายไปสู่ชาวเลบนเกาะบูโหลน อำเภอระงู จังหวัดสตูล อีกด้วย

กำหนดงาน : วันขึ้น 15 ค่ำ ของทุกเดือน

กิจกรรม / พิธี
พิธีไหว้พระจันทร์เริ่มตั้งแต่พลบค่ำของวันขึ้น 15 ค่ำ โดยผู้เป็นเจ้าภาพประจำเดือนต้องเตรียมหา ปลา กุ้ง ปู สุรา มาประกอบอาหารเลี้ยง เซ่นไหว้บรรพบุรุษ และไหว้พระจันทร์

หัวหน้าเกาะเป็นผู้นำเริ่มพิธี เริ่มจากเซ่นไหว้บรรพบุรุษด้วยเครื่องเซ่น เหล้า ยา อาหารต่างๆ จากนั้น จึงทำพิธีไหว้พระจันทร์ มีการกล่าวคำสรรเสริญและขอพรจากพระจันทร์

เมื่อเสร็จสิ้นพิธีกรรมแล้ว จะเริ่มงานรื่นเริง โดยชาวเลทุกคนที่มาร่วมงาน ร่วมกันเต้นรำร้องเพลงเป็นกลุ่มไม่จำกัดเพศและวัย ไม่จำกัดจำนวนผู้เต้น ไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน มีการเต้นรำกันตลอดทั้งคืน ถือเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาว่า เป็นการเต้นรำเพื่อบวงสรวงพระจันทร์

เพลงที่ใช้ประกอบการเต้น มีคำร้องเป็นภาษาขาวเล จังหวะการเต้นเป็นจังหวะพื้นเมืองของชาวเล (จังหวะเดียวกับการเต้นรองเง็ง) เนื้อเพลงมีใจความเป็นการเกี้ยวพาราสี หยอกล้อกันระหว่างชายหญิง เพลงส่วนใหญ่ร้องเดี่ยว บางครั้งอาจมีลุกคู่ช่วย เครื่องดนตรีที่ใช้มี 2 ชนิด คือ รำมะนา และไวโอลิน ชาวเลทุกคนที่มาในงานจะแต่งตัวกันอย่างงดงาม

ข้อมูลการเดินทาง
รถยนต์
จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4 ผ่านจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 41 ผ่านเข้าเขตจังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง จากพัทลุงไปอำเภอรัตนภูมิ จังหวัดสงขลา ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 4 แล้วแยกขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 406 ถึงจังหวัดสตูล ระยะทาง 973 กิโลเมตร
รถไฟ
สามารถเดินทางไปกับขบวนรถกรุงเทพฯ-ยะลา หรือ กรุงเทพฯ-หาดใหญ่ได้ โดยลงที่สถานีรถไฟหาดใหญ่ จากนั้นนั่งรถแท็กซี่ รถจอดที่ใต้สะพานลอย หน้าที่ทำการไปรณีย์ สาขารัถการ หรือรถตู้โดยสาร หรือนั่งรถโดยสารประจำทางเข้าจังหวัดสตูล ระยะทาง 97 กิโลเมตร สอบถามรายละเอียดที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. 223-7010, 223-7020 หรือ www.railway.co.th
รถโดยสารประจำทาง
มีรถโดยสารปรับอากาศและรถธรรมดา กรุงเทพฯ-สตูล ทุกวัน รถออกที่สถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี สอบถามรายละเอียดได้ที่ รถโดยสารธรรมดา โทร. 434-5557-8 รถปรับอากาศ โทร. 435-1199 หรือ www.transport.co.th
เครื่องบิน
ไม่มีเที่ยวบินบินตรงไปจังหวัดสตูล แต่สามารถใช้บริการเที่ยวบินกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ แล้วต่อรถแท็กซี่หรือรถโดยสารประจำทางจากตัวอำเภอหาดใหญ่เข้าจังหวัดสตู ลอีกประมาณ 97 กิโลเมตร
การเดินทางจากกรุงเทพฯ ไป จ.สตูล

หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ

สำนักงานจังหวัด โทร.0 7471 1055
ประชาสัมพันธ์จังหวัด โทร.0 7472 1375
สถานีตำรวจภูธร โทร.0 7473 2502-3
สถานีตำรวจน้ำสตูล โทร.0 7471 1043
ด่านตรวจคนเข้าเมือง(ใกล้สุเหร่า) โทร.0 7471 1080
เทศบาลตำบลกำแพงอำเภอละงู โทร.0 7478 1382,0 7478 1338
โรงพยาบาลจังหวัดสตูล โทร.0 7472 3500-1
ตำรวจท่องเที่ยว โทร.1155
ตำรวจทางหลวง โทร.1193