วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โฮมสเตย์คุณภาพระดับ 5 ดาว

ใกล้ถึงหน้าผลไม้แล้ว เตรียมตัวไปเที่ยวโฮมสเตย์แบบมีสไตล์ที่บ้านคีรีวง ชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งเขาหลวง กันครับ
ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวง ตั้งอยู่ที่ บ้านคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
ความเป็นมา หมู่บ้านคีรีวง เป็นหมู่บ้านที่ถูกโอบล้อมไปด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนกันไป มีหมู่บ้านรวมตัวกันบริเวณที่ราบระหว่าง หุบเขา มีลำธารสายใหญ่ไหลผ่านถึง 2 สาย คือ สายคลองปง และคลองท่าหา ซึ่งไหลมาบรรจบกันเป็นคลองท่าดี ส่วนต้น น้ำอยู่บนยอดเขาหลวง บริเวณที่เรียกว่าขุนน้ำท่าดี สายน้ำจากคลองท่าดีไหลมาหล่อเลี้ยงผู้คนและชุมชน และไหลรวม กับแม่น้ำสายป่าหล้าลงมาหล่อเลี้ยงผู้คนที่อยู่ในเมือง ซึ่งเป็นที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มภายนอกในด้านการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมาย คือ การพิชิต ยอดเขาหลวง ยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชิดชาวบ้านมากที่สุด มีทัศนียภาพ ที่สวยงามทางธรรมชาติ มีประวัติศาสตร์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนที่สั่งสมกันมากว่า 200 ปี จึงมีผู้คนแวะเวียนมา เยี่ยมเยือนเพื่อท่องเที่ยวและเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ชุมชนได้เกิดความห่วงใยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การลักลอบนำพันธุ์ไม้ลงจากเขาหลวง การทิ้งขยะ รวมทั้งผลกระทบทางวัฒนธรรม ในเดือนกรกฎาคม 2539 มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) และโครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติ (พออ.) นำตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้านคีรีวง อบต.กองทุนเติมสีเขียวใส่เขาหลวง กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่ม เยาวชน (กลุ่มเสรีพัฒนา) กลุ่มมัดย้อม กลุ่มแม่บ้านทุเรียนกวน กลุ่มงดสูบบุหรี่ ไปศึกษาดูงานที่เกาะยาว จ.พังงา เกี่ยวกับ เรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยองค์กรชาวบ้าน เพื่อศึกษารูปแบบและการบริหารจัดการที่ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม หลังจากกลับจากการดูงาน ได้มีการปรึกษาระหว่างแกนนำกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่เพื่อจัดการเรื่องการ ท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ซึ่งเดิมกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมหนึ่งของกองทุนเติมสีเขียวใส่เขา หลวง แต่เนื่องจากภาระ กิจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเขาหลวง เป็นงานที่ต้องประสานความร่วมมือหลายฝ่าย และจำเป็นต้องสร้าง สรรค์กิจกรรมที่หลากหลายในด้านการรณรงค์และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ จึงควรแยกเรื่อง การจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวออกไปดำเนินงานให้ชัดเจน กลุ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวจึงพัฒนารูปแบบการทำงานไปสู่ การจัดตั้ง “ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ในเดือนสิงหาคม 2539 โดยมี พออ.,อบต.และกองทุนเติมสีเขียวใส่เขา หลวงเป็นที่ปรึกษาในการทำกิจกรรม ต่อมาเพื่อให้การ ดำเนินกิจกรรมของชมรมฯ เป็นที่ยอมรับและมีงบประมาณในการสนับสนุน จึงมีการจัดปรับให้ ชมรมฯ เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของ อบต.กำโลน อำเภอลานสกา จ.นครศรีธรรมราช โทร.(075) 309010
ชมรมฯ มีสมาชิก 47 คน มีการจัดกลุ่มสมาชิกที่มีความพร้อมด้านที่พัก ลูกหาบ เป็นชุด เพื่อหมุนเวียน ต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันมีชุดลูกหาบทั้งหมด 5 ชุด และมีชุดบ้านพักทั้งหมด 7 ชุด

ลักษณะทางประชากรศาสตร์
บ้านคีรีวง แบ่งเขตการปกครองเป็น 4 หมู่บ้าน โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ เขาหลวง
ทิศใต้ ติดต่อ เขาหอยสังข์และวัดสมอ
ทิศตะวันออก ติดต่อ เขายอดเพลและวัดสมอ
ทิศตะวันตก ติดต่อ เขาหลวง
มีประชากรเกือบ 4,000 คน มีโรงเรียนไทยรัฐวิทยา จำนวน 1 แห่ง มีสาธารณูปโภคพร้อม ส่วนสภาพของวิถีชีวิตของ คนก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง คือ ค่อนข้างเป็นสังคมเมืองมากกว่าอดีต แต่การรักพวกพ้อง เครือญาติ ยังคงเหมือนเดิม รวมถึงการประกอบอาชีพของชาวคีรีวง ยังคงทำสวนสมรม ซึ่งเป็นสวนผลไม้บนภูเขาที่อยู่รอบ ๆ หมู่บ้าน การทำสวนสมรมของชาวคีรีวง เป็นวิธีการที่ปฏิบัติมากว่า 200 ปี แล้ว ในอดีตชาวคีรีวงตั้งบ้านเรือนห่างไกลกัน การเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้านก็ลำบาก อาศัยเพียงเรือในการสัญจรไปมา และยังไม่มีระบบเงินตราเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องใช้ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน เช่น ชาวคีรีวงบรรทุกผลไม้ สมุนไพร ไปจนเต็มลำเรือเพื่อแลกข้าว ปลาแห้งและพืชผักชนิดอื่น ๆ ที่บริเวณปากพนังและหัวไทร ซึ่งกว่าจะได้ทำการแลกเปลี่ยน ผลไม้ก็เสียความสดใหม่ ดังนั้น การทำสวนจึงเน้นวิธีการปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดไว้เพื่อให้เพียงพอต่อการยังชีพ และคิดค้นวิธีถนอมอาหารด้วย

ลักษณะของสวนสมรม
สภาพสวนในอดีตมี ลักษณะคล้ายป่า คือ จะปลูกมังคุด ปลูกสะตอ ทุเรียน เสริมลงไปในพื้นที่ป่า ที่มีพืชผลต่าง ๆ ขึ้น อยู่ สภาพสวนจึงค่อนข้างรก มีทุกอย่างพร้อมอยู่ในสวน และรูปแบบการปลูกเช่นนี้มีผลต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย เนื่อง จากผลไม้แต่ละชนิดจะเก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน จึงทำให้มีกินมีใช้ตลอดทั้งปี แนวคิดเช่นนี้ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึง ปัจจุบัน
การปลูกใหม่แทนต้น เก่าที่หมดสภาพหรือต้องเพิ่มปริมาณต้นไม้ในสวนทุก ๆ ปี ทำให้สวนของชาวคีรีวงยังเป็นสวนสมรมตลอดมา ปัจจุบันพบว่าชาวคีรีวงส่วนมากมีที่ดินทำกินประมาณ 1-10 ไร่ แต่อย่างไรก็ตามทุกสวนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีผลไม้ และไม้ป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติปะปนกันไป นักท่องเที่ยวจะเห็นต้นทุเรียนขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 100 ซม.มีต้นมังคุดขนาดใหญ่ ต้นลูกประ ต้นหมาก พลู ลูกเนียง ลางสาด ลองกอง สะตอ จำปาดะ มะพร้าว มะเหมี่ยว และมะมุด ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดจะออกผลไม่พร้อมกัน มีฤดูการเก็บเกี่ยว ดังนี้

- ส.ค.-ก.ย. เริ่มเก็บผลผลิตจากสะตอ ทุเรียน มังคุด เงาะ (แล้วหาบมาขายในบริเวณจุดรับซื้อในหมู่บ้าน)ทำสะตอดอง ทำทุเรียนกวน
- ต.ค.-พ.ย. เก็บผลผลิตลูกเนียง ยังคงทำทุเรียนกวน
- ธ.ค.-ก.พ. ถางสวน ปลูกซ่อม ทำหมากย่าง (โดยเอาหมากขนาดพอดีไม่นิ่ม-ไม่แข็งเกินไป มาหั่นเป็น แว่นบาง ๆ แล้วย่างไฟ จะขายเป็นกิโลกรัม แต่ละปีราคาไม่เท่ากัน) เริ่มขายสะตอดอง ทุเรียนกวน
- มี.ค.-เม.ย. เก็บหมากอ่อนดูแลน้ำในสวน
- พ.ค.-ก.ค. ทำหมากผ่าซีก (หมากแห้ง) ตากหมากถางสวน

ข้อเด่นของการทำสวนสมรม
- ใช้พันธุ์พืชพื้น เมืองเป็นหลัก ถึงมีพันธุ์ใหม่เข้ามาแต่ยังคงมีการรักษาพันธุ์เดิมไว้ แต่ใช้เทคนิคการ เกษตรเข้ามาช่วย เช่นการเสียบยอด ยังไม่เห็นส่วนใดที่เปลี่ยนเป็นพันธุ์ใหม่หมดทั้งสวน หรือบางสวนก็ อาจจะปลูกแซมต้นเดิมบ้าง
- ไม่ปลูกเป็นแถวเป็น แนว แต่ปลูกในทุกพื้นว่าง และปลูกใหม่ทันทีหากต้นเก่าหมดสภาพ
- ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาปราบศัตรูพืช ให้ธรรมชาติดูแลกันเอง ผลผลิตจึงปลอดสารพิษ
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ จอบ พร้า เสียม ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องตัดหญ้าเข้ามาใช้บ้าง
- ใช้แรงงานในครัวเรือน เป็นหลัก เพราะการดูแลรักษาสวนมีแต่เฉพาะการดูแลเรื่องน้ำ โดยส่วนมากรอน้ำฝน ยกเว้นต้นที่ปลูกใหม่ต้องรดน้ำเป็นพิเศษ บางสวนเริ่มมีการใช้ท่อสูบน้ำ
ต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะไม่ได้ลงทุนในเรื่องปุ๋ย ยาฆ่าแมลง หรือเครื่องจักร รายได้ขึ้นอยู่กับปริมาณและ ราคาผลผลิตตามท้องตลาด โดยเฉลี่ยครอบครัวละ 35,000-50,000 บาท

เขาหลวง
เทือกเขาสูงสลับซับ ซ้อน มียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะป่าเป็นป่าดิบชื้น หรือป่าฝนเขตร้อน มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด เช่น มอส เฟิร์น ไลเคน บีโกเนีย เต่าร้างยักษ์ มหาสดำ กล้วยไม้ป่าดงดิบ ไม้ตระกูลยาง ตะเคียน ก่อ
เป็นแหล่งอาศัยของ สัตว์หายาก สัตว์ป่าที่มีอยู่ชุกชุม เช่น สมเสร็จ เลียงผา หมูป่า ค่างชะนี ฯลฯ
มีความหลากหลายทาง ชีวภาพ มีสายพันธุ์พืชและสัตว์มากมาย มีการปรับปรุงพันธุ์ในภาคเกษตรกรรม และสามารถนำไปค้นคว้าวิจัยเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะใหม่ ๆ ได้อีกนับไม่ถ้วน สภาพป่าดงดิบที่มีไม้หลายชนิดขึ้นอยู่ปะปนกัน ก่อเกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ในตัวเอง

กฎระเบียบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวง

1. นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบ้านคีรีวงจะต้องผ่านชมรมฯ เท่านั้น
2. ต้องได้รับอนุญาตจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าของพื้นที่
3. ต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน
4. ห้ามพกพาอาวุธ หรือวัตถุระเบิดเข้ามาในพื้นที่
5. ห้ามมีเรื่องชู้สาว หรือกระทำอนาจาร
6. อาบน้ำในลำธาร ควรแต่งกายสุภาพ
7. ห้ามนำยาเสพติดเข้ามาในชุมชน

การขึ้นเขาหลวง

1. ต้องได้รับอนุญาตจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่อุทยานเท่านั้น
2. ต้องผ่านชมรมฯ เท่านั้น โดยใช้ระบบการจัดการที่ชมรมฯ จัดการอยู่
3. ต้องเป็นบุคคลที่รักธรรมชาติ
4. จำนวนคนไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่เกิน 15 คน รวมทั้งลูกหาบ
5. สามารถเที่ยวเขาหลวงได้เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น
6. ต้องเสียค่าบริการ ค่าลูกหาบ ค่าบำรุงชมรมฯ ตามที่ชมรมฯ กำหนดไว้
7. ต้องเชื่อฟังคนนำทาง (เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเอง)
8. ลูกหาบจะรับผิดชอบน้ำหนักสัมภาระตามที่กำหนดไว้ หากน้ำหนักเกินนักท่องเที่ยวจะต้องรับผิดชอบเอง หรือแจ้งล่วงหน้าเพื่อจัดหาลูกหาบเพิ่ม
9. ห้ามทิ้งขยะ ระหว่างการขึ้นลงเขาหลวง ขณะพักบนยอดเขาหลวง และรวมถึงขณะศึกษาวิถีชีวิตชุมชนด้วย
10. ต้องช่วยกันดูแลรักษาความสวยงามของธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนไว้ให้นานที่สุด

ข้อควรปฏิบัติในการขึ้นเขาหลวง

1. ลูกหาบ 1 คนจะรับผิดชอบสัมภาระของนักท่องเที่ยว น้ำหนักไม่เกิน 10 กก./นักท่องเที่ยว 2 คน
2. นักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตาม กฎ ที่วางไว้
3. เรื่องความสะดวก อาหาร โปรแกรมการท่องเที่ยว ทางสมาชิกชมรมฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบ
4. ลูกหาบจะไม่รับผิดชอบของใช้ส่วนตัวของผู้หญิง ผู้ชาย เช่น ชุดชั้นใน

กรณีมีการขึ้นเขาหลวง ลูกหาบต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีความรู้ในเรื่องพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ
2. สามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างแม่นยำ
3. ลูกหาบควรกล้าแสดงออกในการถ่ายทอดข้อมูล
4.ลูกหาบจะต้องช่วย เหลือซึ่งกันและกันขณะเดินทางและพักบนยอดเขาหลวง

สมาชิกชมรมฯ ได้จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งหมด 4 โปรแกรม ดังนี้

1. ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน
2. ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
3. ศึกษาธรรมชาติบนยอดเขาหลวง ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน
4. ศึกษาวิถีชีวิตชุมชนและธรรมชาติบนยอดเขาหลวง ระยะเวลา 4 วัน 3 คืน

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เที่ยวหมู่ บ้าน วัด ตลาดนัด เยี่ยมชมและร่วมกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้านทุเรียนกวน กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ เที่ยวน้ำตก เที่ยวสวนสมรม ดูนกในสวน ศึกษาเส้นทางธรรมชาติบนเขาหลวง

วัฒนธรรมประเพณี
งานสารทเดือนสิบ แรม 14, 15 ค่ำ เดือน 10
ประเพณีชักพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

Adventure เดินป่าเขาหลวง นครศรีธรรมราช

อุทยานแห่งชาติเขา หลวง มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอท่าศาลา อำเภอฉวาง อำเภอเมือง อำเภอพิปูน อำเภอพรหมคีรีและอำเภอลานสะกา จังหวัดนครศรีธรรมราช สภาพป่าเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อน เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารหลายสาย มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงามหลายแห่ง เช่น ถ้ำ น้ำตก ยอดเขา ทิวทัศน์ต่าง ๆ และสัตว์ป่านานาชนิด อุทยานแห่งชาติเขาหลวงมีเนื้อที่ประมาณ 567 ตารางกิโลเมตร หรือ 356,250 ไร่ ได้จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2517

ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่อุทยานฯ ครอบคลุมเทือกเขานครศรีธรรมราชตอนกลาง ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนทอดยาวเหนือจรดใต้ มีที่ราบตามหุบเขาเล็กน้อย ดินบนภูเขาเป็นดินที่เกิดจากการผุสลายของหินแกรนิต มียอดเขาสูงสุดคือ ยอดเขาหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 1,835 เมตร เป็นต้นกำเนิดของต้นน้ำลำธารหลายสาย เช่น คลองกรุงชิง คลองเขาแก้ว คลองท่าแพและคลองละลาย เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศ
ด้วยเหตุที่อุทยานแห่งชาติแห่งนี้ตั้งอยู่บนคาบสมุทร จึงได้รับลมมรสุมที่พัดผ่านทะเลทั้งสองด้าน ทำให้ฝนตกเกือบตลอดปีและมีอากาศค่อนข้างเย็น ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 3,500 - 4,000 มิลลิเมตร อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 15 - 17 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนธันวาคม และอุณหภูมิสูงสุดประมาณ 28 - 30 องศาเซลเซียส ในช่วงเดือนเมษายน

พันธุ์ไม้และสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติเขาหลวง มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทั้งสองด้าน ทำให้มีสภาพชื้นและปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยสูง พืชพรรณไม้ส่วนใหญ่จึงเป็นสังคมพืชป่าดงดิบชื้น ซึ่งสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) เป็นป่าที่ขึ้นอยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางตั้งแต่ 100 เมตรขึ้นไปจนถึงยอดเขาที่มีเมฆหมอกคลุม พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เหมือด กำยาน แดงเขา ก่อเขา บุญนาคเงา จำปูนช้าง พืชคลุมดินส่วนใหญ่คล้ายป่าดิบเขาระดับต่ำแต่จะมีพืชหญ้าขึ้นมาก ได้แก่ บัวแฉกใบใหญ่ บัวแฉกใบมน
ป่าดงดิบชื้น (Tropical Forest หรือ Tropical Evergreen Forest) ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของอุทยานแห่งชาติเกือบทั้งหมด พืชประจำถิ่นและไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ได้แก่ ไม้ยาง ตะเคียนทอง ไข่เขียว ตะเคียนทราย สยาขาว กระบากดำ กระบากขาว พันจำ หลุมพอ เอียนเซียด อบเชย เทพธาโร จำปาป่า ก่อต่างๆ แดงคาน แดงเขา ยมป่า เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกุหลาบพันปี กุหลาบป่าหรือกุหลาบเขาหลวง เต่าร้าง บิโกเนีย หรือ ก้ามกุ้งหลายชนิด มหาสดำ (เฟิร์นต้น Tree Fern) เป็นต้น
พืชในวงศ์กล้วยไม้ที่เขาหลวงคาดว่าจะมีอยู่มากกว่า 300 ชนิด บางชนิดเป็นกล้วยไม้เฉพาะถิ่นที่พบเพียงแห่งเดียวในโลก เช่น สิงโตพัดเหลือง สิงโตอาจารย์เต็ม ขนตาสิงโต เอื้องสายเสริตสั้น เอื้องแดงหิน กล้วยปลอก เอื้องคีรีวง เป็นต้น
ในส่วนของสัตว์ป่า พบว่าในอุทยานแห่งชาติเขาหลวงเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 327 ชนิด สัตว์ป่าที่พบเห็น เช่น สมเสร็จ เลียงผา ลิงกัง เม่นหางพวง เสือลายเมฆ เก้ง กวาง เสือดำ เสือโคร่ง หมีหมา ค่างดำ ค่างแว่นถิ่นใต้ สัตว์จำพวกนก เช่น นกอินทรีดำ ไก่ฟ้าหน้าเขียว ไก่ป่า นกเขาเปล้าธรรมดา นกหว้า นกเงือกหัวหงอก นกเงือกปากดำ นกกก นกชนหิน นกโพระดกหลากสี และนกกินปลี ฯลฯ

สถานที่ท่องเที่ยว
น้ำตกกระโรมเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยานแห่งชาติอยู่ในท้องที่ ตำบลเขาแก้ว อำเภอลานสกา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง น้ำตกกระโรมมีชั้นน้ำตกทั้งหมด 19 ชั้น เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวชมความหลากหลายของธรรมชาติ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและรื่นรมย์เพียง 7 ชั้น ชั้นที่ 7 เป็นชั้นที่สวยงามที่สุดเรียกว่า “หนานดาดฟ้า”และเห็นสายน้ำไหลพรั่งพรูลงจากหน้าผาสูงและลาดชัน 45 องศา ลดหลั่นลงมาตามโขดหินกว้างจนถึงแอ่งน้ำใหญ่เบื้องล่างที่สามารถลงเล่นน้ำได้ปกติสายน้ำจะไหลแยกเป็น 2 สาย พอถึงฤดูฝนสายน้ำจะไหลหลากแผ่เต็มหน้าผา น่าชมมาก
น้ำตกพรหมโลก อยู่ในท้องที่ตำบลพรหมโลกอำเภอพรหมคีรีไปตามทางหลวงหมาย เลข4016ประมาณ 18 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 4132 อีกประมาณ 4 กิโลเมตรน้ำตกพรหมโลกเป็นน้ำตกที่สวยงาม มีชั้นน้ำตกประมาณ 50 ชั้น เปิดบริการให้นักท่องเที่ยวได้เที่ยวชม 4 ชั้น
น้ำตกอ้ายเขียว หรือ น้ำตกในเขียว ตั้งอยู่เส้นทางเดียวกับทางไปน้ำตกพรหมโลก เป็นน้ำตกที่มีธรรมชาติงดงาม มีชั้นน้ำตกไหลลดหลั่นกันประมาณ 100 ชั้น ทางอุทยานแห่งชาติอนุญาตให้นักท่องเที่ยวไปเที่ยวชม 9 ชั้น
น้ำตกกรุงชิง อยู่ ในท้องที่ ตำบลกรุงชิง กิ่งอำเภอนบพิตำ ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราชประมาณ 75 กิโลเมตร มีแหล่งธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพที่สวยงาม มีเส้นทางเดินป่า ศึกษาธรรมชาติ เข้าค่าย การศึกษาพันธุ์ไม้ ชมนกและการเที่ยวชมน้ำตกโดยเฉพาะน้ำตกกรุงชิงชั้น “หนานฝนแสนห่า” หรือหนานฝนเสน่หาที่ปรากฏในธนบัตรใบละ 1,000 บาท นอกจากนี้ยังมีร่องรอยประวัติการต่อสู้ด้านการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์แห่ง ประเทศไทย เช่น ถ้ำหลบภัย ถ้ำเก็บเสบียง หลุมขวาก สนามบาสเกตบอล เป็นต้น
น้ำตกท่าแพ อยู่ ห่างจากน้ำตกกระโรมไปประมาณ 6 กิโลเมตร ในเส้นทางเดียวกันน้ำตกท่าแพมีสวยงามไม่แพ้ที่อื่น ๆมีชั้นน้ำตกประมาณ 10 ชั้น ทางอุทยานฯ เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเที่ยวชมพักผ่อนหย่อนใจ 3 ชั้น
น้ำตกสวนอาย เป็น น้ำตกที่มีความงามแต่ไม่ใหญ่นักตั้งอยู่ในเขตอำเภอฉวางห่างจากตัวเมือง นครศรีธรรมราชประมาณ 60 กิโลเมตรไปทางเส้นทางน้ำตกกะโรม น้ำตกสวนอาย มีชั้นน้ำตก 5 ชั้น
ถ้ำแก้วสุรกานต์ อยู่ ในท้องที่ตำบลเขาแก้วก่อนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นถ้ำที่มีหินงอกหินย้อยสวยงามมาก บนผนังถ้ำเป็นรูปปั้นลักษณะต่าง ๆ และมีน้ำหยดตามเพดานถ้ำ ความลึกของถ้ำแก้วสุรกานต์แห่งนี้ ประมาณ 700 เมตร
จุดชมวิวยอดเขาหลวง เป็น ยอดเขาที่สูงที่สุดของภาคใต้คือสูงประมาณ 1,835 เมตร อยู่ในท้องที่บ้านคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช (ไปเส้นทางเดียวกับน้ำตกกระโรมแต่ถึงก่อน) ประมาณ 20 กิโลเมตร มีแยกขวามือเข้าหมู่บ้านคีรีวงระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินขึ้นถึงยอดเขาไปกลับ 3 วัน กับ 2 คืน เหมาะสำหรับเฉพาะผู้สนใจศึกษาสภาพป่าดึกดำบรรพ์และศึกษาวิจัยพันธุ์ไม้ ยอดเขาหลวงมีความหลากหลายทางชีวภาพค่อนข้างสูงและจัดเป็นบริเวณที่เปราะบาง โดยสภาพทางชีวภาพและกายภาพแล้ว “ยอดเขาหลวงไม่เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไป”
สิ่งอำนวยความสะดวก อุทยานแห่งชาติเขาหลวงมีบ้านพักและสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว

การเดินทาง
รถยนต์ จากตัวเมืองนครศรี ธรรมราชห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 800 กิโลเมตร สามารถเดินทางได้ทั้งทางเครื่องบิน รถไฟ และรถยนต์ ส่วนการเดินทางไปอุทยานแห่งชาติเขาหลวงนั้นเริ่มจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 4015 ไปทางอำเภอลานสกา ประมาณ 20 กิโลเมตร จะมีป้ายขนาดใหญ่ “อุทยานแห่งชาติเขาหลวง” ทางขวามือ เดินทางต่อไปอีกประมาณ 1 กิโลเมตรเศษก็จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (น้ำตกกะโรม)
สำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปยังหน่วยพิทักษ์อุทยานฯน้ำตกกรุงชิง ใช้ทางหลวงหมายเลข 4016 ผ่านทางเข้าน้ำตกพรหมโลก น้ำตกอ้ายเขียว น้ำตกยอดเหลือง ถึงทางแยกนาเหลงเลี้ยวซ้าย ถึงบ้านห้วยพาน เลี้ยวซ้ายเข้าเส้นทางหลวง 4188 รวมระยะทางประมาณ 62 กิโลเมตร มีถนนแยกเข้าสู่หน่วยพิทักษ์อุทยานฯ น้ำตกกรุงชิง อีกประมาณ 8 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางด้านซ้ายมือ
สถานที่ติดต่อ
อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ตำบลเขาแก้ว อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช 80230 โทรศัพท์ : (075) 309904-7

โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ หลังสวน ชุมพร

เกาะพิทักษ์ แห่งนี้เดิมมีชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "เกาะผีทัก" เหตุเนื่องจากมีเรื่องกล่าวขวัญในหมู่ชาวประมงเมื่อก่อนว่าในขณะที่กำลังหาปลาในบริเวณใกล้เคียงเกาะแห่งนี้ มีเสียงเรียกดังมาจากเกาะ แต่เมื่อเข้าใกล้เกาะแห่งนี้ก็มิปรากฎว่าต้นเสียงที่เรียกนั้นมาจากไหน หรือบางครั้งมีเสียงร้องเรียกเรือประมงที่หาปลาให้มาที่เกาะ พอเรือมาจอดเทียบที่เกาะได้ไม่นานก็จะเกิดพายุเข้า เหมือนเป็นการเตือนจากสิ่งที่มองไม่เห็น

จุดเริ่มต้นของกลุ่ม โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ เกิดเมื่อประมาณปี 2538 เมื่อเริ่มมีนักท่องเที่ยวเดินทางมามากขึ้น ประกอบกับติดใจในธรรมชาติของเกาะ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่จึงเริ่มมองหาที่พัก ผู้ใหญ่บ้านอำพล ธานีครุฑ จึงเรียกลูกบ้านประชุมหารือในการจัดทำบ้านพักในรูปแบบ โฮมสเตย์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวและ เป็นรายได้เสริมให้กับลูกบ้านบนเกาะ โดยในปีแรกได้เก็บเงินจากนักท่องเที่ยวเพียง 100 บาท ซึ่งถือว่าเป็นช่วงทดลองให้กับลูกบ้าน....ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาการพักผ่อนแบบ โฮมสเตย์ เป็นที่รู้จักในหมู่นักท่องเที่ยวมากขึ้น

โฮมสเตย์บ้าน เกาะพิทักษ์ จึงเริ่มรับนักท่องเที่ยวมากขึ้นกว่าเดิม โดยใช้การจัดการในรูปแบบสหกรณ์ เพื่อแบ่งปันรายได้ให้ทั่วถึง ปัจจุบันสามารถรองรับนักท่อง เที่ยวได้โดยทางผู้ใหญ่ จะเป็นคนทำการหมุนเวียนบ้านพักที่เข้าร่วมโครงการ ให้รับนักท่องเที่ยวอย่างทั่วถึง...

โฮมสเตย์เกาะพิทักษ์ นับเป็นชุมชนหนึ่งที่ได้รับการยอมรับ ว่าเป็นชุมชนที่มีความน่าสนใจ และเป็นเกาะที่ยังคงอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สวยงามรอบเกาะไว้ได้อย่างดีเยี่ยม และเริ่มเป็นเกาะที่ติดอกติดใจของนักท่องเที่ยวหลายๆ คนในขณะนี้.....จุดเด่นอีกอย่างหนึ่งของ เกาะพิทักษ์ นั้นคือในช่วงน้ำทะเลลด สามารถเดินเล่นตามสันทรายได้หรือจะเดินข้ามไปยังอีกฝั่งที่เป็นท่าเรือที่ ขึ้นข้ามมาเกาะพิทักษ์ยังได้

เกาะพิทักษ์โฮมสเตย์ ตั้งอยู่ที่ บ้านเกาะพิทักษ์ ต.บางน้ำจืด จ.ชุมพร ห่างจากอำเภอหลังสวน 18 กิโลเมตร

จุดเด่น เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ยังคงมีธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ เช่น หาดทรายที่สวยงาม มีกิจกรรมที่หลากหลายและน่าสนใจ เช่น ดูการปั่นไฟไดร์ปลาหมึก ดูฝูงโลมาสีชมพู ตกปลา

การเดินทาง รถยนต์โดยสารประจำทางผ่านถนนลาดยางจากที่ว่าการอำเภอหลังสวน ผ่านตำบลปากน้ำหลังสวนตามเลียบชายทะเล ถึงหมู่ที่ 14 ตำบลบางน้ำจืด ระยะทาง 1,200 เมตร ใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 15 นาที ค่าเรือข้ามฝาก คนละ10/คน/เที่ยว บางช่วงที่ตรงกับน้ำลง น้ำทะเลจะแห้งเป็นสันทรายสามารถเดินข้ามไปยังเกาะได้

กิจกรรม
- ศึกษาวิถีชุมชน และเรียนรู้วิถีชีวิตชาวประมง
- ดำน้ำดูประการังและหอยมือเสือ
- ตกปลาไดร์หมึก
- เล่นน้ำทะเลที่หาดทรายบนเกาะ
- ร่วมประเพณีทำบุญสวด กลางบ้าน เดือนสิงหาคม
- ดูปลาโลมาสีชมพู
- ทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำ และชมวิธีการเผามะพร้าวแห้ง – ทำน้ำมันมะพร้าว
- จำหน่ายของที่ระลึกพื้นบ้าน
สิ่งอำนวยความ สะดวก
- บ้านพักโฮมสเตย์จำนวน 15 หลัง
- เรือนำเที่ยว
- มักคุเทศก์ท้องถิ่น
- ร้านขายของที่ระลึก
- มีที่ฝากรถที่ ลุงขาวรับฝากรถ (ท่าเทียบ เรือเกาะพิทักษ์) รถยนต์ 50 บาท/คัน รับได้ 20 คัน รถจักยานยนต์ 20 บาท/คัน รับได้ 50 คัน

ค่าใช้จ่าย
- ค่าที่พัก ค่าเรือ และค่าอาหาร 3 มื้อ 700 บาท (ไม่พักรวมกับชาวบ้าน)
- ค่าที่พัก ค่าเรือ และค่าอาหาร 3 มื้อ 450 บาท (พักรวมกับชาวบ้าน)
- อุปกรณ์ดำน้ำ เสื้อชูชีพ ชุดละ 50 บาท

กฎ การเข้าพัก เนื่องจากชุมชนบน เกาะพิทักษ์ นับถือศาสนาพุทธ จึงไม่มีกฎข้อห้ามมากนัก เกาะพิทักษ์ มีข้อห้ามเพียงอย่างเดียวคือ ห้ามนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาพักแรมนำสิ่งเสพติดทุกชนิดขึ้นบนเกาะ
เนื่องจากเป็นเกาะปลอดยาเสพติดมาตั้งแต่ในอดีต ข้อสำคัญอีกอย่างคือ ต้องติดต่อล่วงหน้าประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนเดินทาง พร้อมแจ้งจำนวนคน ระยะเวลาในการพัก เพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมรับรอง

ติดต่อสอบถาม ข้อมูล
กลุ่มโฮมสเตย์เกาะพิทักษ์
ผู้ใหญ่บ้าน อำพล ธานีครุฑ
เลขที่ 32 หมู่ 14 ตำบลบางน้ำจืด
อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 86150
โทรศัพท์ 08-1093-1443 08-9018-0644

วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เจาะลึกแหล่งเที่ยวเชิงนิเวศน์ จ.สงขลา

อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ที่ตั้ง ม.1 ต.คลองกวาง อ.นาทวี จ.สงขลา อยู่ในเขตพื้นที่ ต.คลองทรายต.คลองกวาง ต.ทับช้าง ต.ประกอบ อ.นาทวี ต.ปริก ต.สำนักแก้ว อ.สะเดา จ.สงขลา

การเดินทาง

-เส้นทางที่ 1 อ.นาทวี จ.สงขลา-อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ทางลาดยางตลอดเส้นทางระยะ ทางประมาณ 27 กม.
-เส้นทางที่ 2 อ.สะเดา จ.สงขลา-อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง ทางลาดยาง เช่นกัน ระยะทาง เท่ากัน

อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 65 ของประเทศไทย อยู่ในท้องที่ จ.สงขลา หรืออยู่ระหว่างรอยต่อประเทศไทยกับประเทศมาเลเซีย ภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับ ซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของป่าเขาแดน ป่าเขาน้ำค้าง ป่าควนสิเหรง ป่าควนทางสยา และป่าควน เขาไหม้

มีเนื้อที่ประมาณ 132,500 ไร่ ความสูงเฉลี่ยเนินเขาประมาณ 500 เมตร จากระดับน้ำทะเล ปานกลาง มียอดเขาสูงที่สุด คือ ยอดเขาน้ำค้าง สูงประมาณ 648 เมตร จากระดับน้ำทะเลปาน กลาง ลักษณะอากาศทั่วไปเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน มีระยะฝนตกหนัก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจน ถึงปลายเดือนมกราคม สำหรับฤดูร้อนจะปรากฎเพียงช่วงสั้นๆ ในเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงต้นเดือน พฤษภาคมเท่านั้น

ลักษณะของป่าเป็นป่าดงดิบสมบูรณ์ มีปริมาณความชื้นในดินสูงและซับซ้อน มีไม้มีค่าทาง เศรษฐกิจมากมาย เช่น หลุมพอ ตะเคียน พะยอม กฤษณา สยาดำ สยาแดง ยาง จำปา ฯลฯ ไม้พื้น ล่าง เช่น หวาย ไผ่ ระกำ หมาก เห็ด มีพืชจำพวกกาฝากขึ้นอย่างหนาแน่น มีเถาวัลย์และสมุนไพร จำนวนมาก และเนื่องจากเคยเป็นพื้นที่หวงห้ามและความที่ยัง ไม่แน่ใจว่าจะมีระเบิด หลงเหลือ อยู่หรือไม่ การสำรวจสัตว์ป่าจึงมีข้อจำกัด เจ้าหน้าที่ใช้การสอบถามจากผู้พบเห็น หรือสอบถาม จากอดีต จคม.ซึ่งต่างก็ยืนยันว่ายังมีสัตว์ป่าชุกชุม

สถานที่เที่ยวที่น่าสนใจ
1.น้ำตกวังหลวงพรหม เป็นน้ำตกทางผ่านไปน้ำตกโตนลาด อยู่ห่างจากที่ทำการฯ ใช้เวลาเดิน ประมาณ 5 นาที ลักษณะเป็นแอ่งน้ำกว้างพอประมาณ สายน้ำจะไหลมาจากน้ำตกโตนลาด โดย ลอดมาจากช่องหินเล็กๆ

2.น้ำตกโตนลาด อยู่ห่างจากที่ทำการฯ ประมาณ 500 ม. อยู่ถัดขึ้นไป จากน้ำตกวังหลวง พรหม เป็นสายน้ำที่ไหลคดเคี้ยวลงมาตามลานหินลาดๆ ไม่ชันนัก ดูสวยงาม

3.น้ำตกโตนดาดฟ้า อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 2 กม. ถัดเข้าไปจากถนนลาดยาง 200 ม. ชั้นที่ 1 น้ำตกจากหน้าผาสูง ประมาณ 10 ม. ความลาดชันประมาณ 80-90 องศา หน้าผาใหญ่ข้างน้ำตก ดูสวยงาม มีลาน และศาลาพักผ่อนสำหรับนักท่องเที่ยว ส่วนชั้นที่ 2 น้ำตกจากหน้าผาใหญ่สูง ประมาณ 30 ม. มีความลาดชันประมาณ 80 องศา สายน้ำที่ตกลงมากระจัดกระจายคลุมพื้นที่ ข้างเคียง สวยงามมาก

4.น้ำตกพรุชิง อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 4 กม. เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในป่าเขาน้ำค้าง อยู่ไม่ไกลจาก อุโมงค์ 06 ซึ่งในอดีต จคม.ใช้ประโยชน์ในการสะสมเสบียงและใช้เป็นแหล่งน้ำ ลักษณะของสาย น้ำ จะตกลงมาจากหน้าผา เหมาะเป็นเส้นทางเดินป่า 5.จุดชมวิว อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 6 กม. ต้องจอดรถไว้ข้างทาง แล้วเดินขึ้นไปบนเนินเขาทางขวามืออีกประมาณ 200 เมตร สามารถมอง เห็นอ.สะเดา และยอดเขาน้ำค้าง ตลอดจนภูเขาที่สลับซับซ้อน 6.น้ำตกโตนไม้ปัก อยู่ในเขต อ.สะเดา อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 28 กม. เป็นน้ำที่ตกลงมาจากหน้าผาสูงมาก โดยจะมีไม้ปักอยู่ตรงกลาง อันเป็นที่มาของชื่อน้ำตก ต้องใช้เวลาในการเดินทางประมาณ 1 วัน เหมาะสำหรับ การท่องเที่ยวแบบผจญภัย 7.อุโมงค์เขาน้ำค้าง ถึงแม้ว่าจะถูกกัน ออกจากพื้นที่ อุทยานฯแล้วก็ตาม แต่เมื่อมาเที่ยวอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างแล้ว นักท่องเที่ยวก็มักจะแวะไปชม อุโมงค์แห่งนี้เสมอ เพราะอยู่ไม่ไกลกัน

5.จุดชมวิว อยู่ห่างจากที่ทำการฯ 6 กม. ต้องจอดรถไว้ข้างทาง แล้วเดินขึ้นไปบนเนินเขาทาง ขวามืออีกประมาณ 200 เมตร สามารถมองเห็น อ.สะเดา และยอดเขาน้ำค้าง ตลอดจนภูเขาที่ สลับซับซ้อน

6.น้ำตกโตนไม้ปัก อยู่ในเขต อ.สะเดา อยู่ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 28 กม. เป็นน้ำที่ตกลง มาจากหน้าผาสูงมาก โดยจะมีไม้ปักอยู่ตรงกลาง อันเป็นที่มาของชื่อน้ำตก ต้องใช้เวลา ในการ เดินทางประมาณ 1 วัน เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวแบบผจญภัย

7.อุโมงค์เขาน้ำค้าง ถึงแม้ว่าจะถูกกันออกจากพื้นที่อุทยานฯแล้วก็ตาม แต่เมื่อมาเที่ยวอุทยาน แห่งชาต ิเขาน้ำค้างแล้ว นักท่องเที่ยวก็มักจะแวะไปชมอุโมงค์แห่งนี้เสมอ เพราะอยู่ไม่ไกลกัน

สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางมาพักค้างคืน ทางอุทยานฯเตรียมบ้านพักไว้บริการ 3 หลัง มีลาน สำหรับกางเต็นท์และเล่นแคมป์ไฟ มีเส้นทางเดินเท้าสำหรับดูนกและศึกษาธรรมชาติ พร้อมเจ้า หน้าที่ซึ่งพร้อมให้บริการเต็มที่ โดยต้องทำการติดต่อล่วงหน้า เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เตรียมอาหาร และที่พักได้ทัน โดยติดต่อไปที่อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง สำนักงานป่าไม้ จ.สงขลา 90000 หรือติดต่อโดยตรงที่อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง อ.นาทวี จ.สงขลา 90160