วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตรัง


คำขวัญจังหวัดตรัง : เมืองพระยารัษฎา ชาวประชาใจกว้าง หมูย่างรสเลิศ ถิ่นกำเนิดยางพารา เด่นสง่าดอกศรีตรัง ประการังใต้ทะเล เสน่ห์หาดทรายงาม น้ำตกสวยตระการตา
ตรัง หรือเมืองทับเที่ยง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศ เป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารา โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี นำพันธุ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้ เมื่อ พ.ศ. 2442 และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ตรังมีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำตรัง มีต้นกำเนิดจากเทือกเขาหลวง และแม่น้ำปะเหลียน ซึ่งมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาบรรทัดตรัง เป็นจังหวัดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย มีฝั่งทะเลยาวทางด้านตะวันตก ประมาณ ๑๑๙ กิโลเมตร ประกอบด้วยหมู่เกาะในทะเลอันดามันที่อยู่ในการปกครองกว่า ๔๖ เกาะ ภายในพื้นที่อำเภอกันตัง ๑๒ เกาะ อำเภอปะเหลียน ๑๓ เกาะ และอำเภอสิเกา ๒๑ เกาะ ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินทางท่องเที่ยว คือระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนพฤษภาคมของปีตรัง มีพื้นที่รวม ๔,๙๔๑ ตารางกิโลเมตร แบ่งการปกครองออกเป็น ๙ อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอกันตัง อำเภอห้วยยอด อำเภอย่านตาขาว อำเภอปะเหลียน อำเภอสิเกา อำเภอวังวิเศษ อำเภอนาโยง อำเภอรัษฎา และอำเภอหาดสำราญ
อาณาเขตทิศเหนือ ติดกับอำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอคลองท่อม
ทิศใต้ ติดกับ จังหวัดสตูลและมหาสมุทรอินเดีย
ทิศตะวันออก ติดกับจังหวัดพัทลุงทิศตะวันตก ติดกับจังหวัดกระบี่และมหาสมุทรอินเดีย

การเดินทางรถยนต์
ทางหลวงหมายเลข ๔ กรุงเทพฯ-ชุมพร เข้าทางหลวงหมายเลข ๔๑ สุราษฎร์ธานี-ทุ่งสง-ห้วยยอด-ตรัง ระยะทาง ๘๒๘ กิโลเมตร
ทางหลวงหมายเลข ๔ กรุงเทพฯ-ชุมพร แยกเข้าระนอง-พังงา-กระบี่-ตรัง ระยะทาง ๑,๐๒๐ กิโลเมตร
รถไฟ มีรถเร็วและรถ ด่วนออกจากสถานีรถไฟหัวลำโพง ถึงสถานีตรังทุกวัน ระยะทาง ๘๗๐ กิโลเมตร ใช้เวลา ๑๕ ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ สถานีรถไฟหัวลำโพง โทร. ๑๖๙๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๑๐, ๐ ๒๒๒๓ ๗๐๒๐ หรือสถานีรถไฟตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๘๐๑๒รถโดยสารประจำทาง จากสถานีขนส่งสายใต้ ถนนบรมราชชนนี มีรถโดยสารประจำทางทั้งธรรมดาและปรับอากาศ กรุงเทพฯ - ตรังทุกวัน รายละเอียดสอบถามได้ที่ ๐ ๒๔๓๕ ๑๑๙๙ (รถปรับอากาศ) และโทร. ๐ ๒๔๓๔ ๕๕๕๗-๘ (รถโดยสารธรรมดา) หรือ บริษัท ขนส่ง จังหวัดตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๘๗๑๘
เครื่องบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) มีเที่ยวบินตรงไปจังหวัดตรังทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. ๑๕๖๖, ๐ ๒๒๘๐ ๐๐๖๐, ๐ ๒๖๒๘ ๒๐๐๐ หรือ การบินไทย สาขาตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๙๙๒๓, ๐ ๗๕๒๑ ๘๐๖๖

ในตัวเมืองตรังมีรถสามล้อเครื่อง หรือตุ๊กตุ๊ก บริการในเขตเทศบาล หากเดินทางติดต่อระหว่างอำเภอมีบริการรถประจำทาง และรถสองแถวเล็ก หรือเดินทางโดยรถตู้ซึ่งเช่าได้จากบริษัททัวร์ในตัวเมืองตรัง
ระยะทางระหว่างอำเภอเมืองและอำเภอต่างๆ
อำเภอห้วยยอด ๒๘ กิโลเมตรอำเภอกันตัง ๒๔ กิโลเมตรอำเภอย่านตาขาว ๒๓ กิโลเมตร
อำเภอปะเหลียน ๔๗ กิโลเมตร
อำเภอสิเกา ๓๓ กิโลเมตร
อำเภอวังวิเศษ ๖๐ กิโลเมตรอำเภอนาโยง ๑๐ กิโลเมตร
อำเภอรัษฎา ๔๗ กิโลเมตร
อำเภอหาดสำราญ ๔๕ กิโลเมตร

การเดินทางจากตรังไปจังหวัดใกล้เคียงมีบริการรถโดยสารประจำทาง และรถยนต์รับจ้างจากตัวเมืองตรังไปจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่
ตรัง-นครศรีธรรมราช ๑๒๓ กิโลเมตรตรัง-สตูล ๑๓๔ กิโลเมตร
ตรัง-พัทลุง ๕๖ กิโลเมตร
ตรัง-กระบี่ ๑๓๑ กิโลเมตร
ตรัง-หาดใหญ่ ๑๔๘ กิโลเมตรตรัง-ภูเก็ต ๓๑๒ กิโลเมตร
ตรัง-พังงา ๒๒๑ กิโลเมตร
ตรัง-สุราษฎร์ธานี ๒๒๖ กิโลเมตร
ตรัง-ชุมพร ๓๗๘ กิโลเมตรตรัง-สงขลา ๑๗๖ กิโลเมตร

งานเทศกาล
งานเทศกาลกินเจ เป็นงานประเพณีดั้งเดิมของชาวจีนในจังหวัดตรัง จะมีขึ้นในวันขึ้น ๑-๙ ค่ำ เดือน ๙ ของจีน (ประมาณเดือนตุลาคม) โดยถือเอาวันขึ้น ๖ ค่ำ เป็นวันสำคัญที่สุดของงาน ในงานจะจัดขบวนแห่เจ้าอย่างมโหฬารไปรอบๆ เมือง มีพิธีไหว้เจ้าและลุยไฟ และจะมีชาวจีนนุ่งขาวห่มขาวไปถือศีลกินเจตามศาลเจ้าต่างๆ เป็นเวลา ๙ วัน
งาน เทศกาลขนมเค้ก ชาวตรังมีชื่อเสียงในการทำขนมเค้กมาช้านาน โดยเฉพาะที่บ้านลำภูรา เป็นแหล่งผลิตขนมเค้กมาแต่ดั้งเดิม เอกลักษณ์ของขนมเค้กของชาวตรังจะไม่ใช้ครีมตกแต่งหน้าเค้ก มีหลายรส เช่น เค้กส้ม เค้กกาแฟ เค้กสามรส และจัดงานเทศกาลขนมเค้กเป็นประจำทุกปี กำหนดจัดงานจะอยู่ช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี บริเวณถนนสถานี
งานเทศกาลหมูย่างจังหวัด ตรัง เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดตรัง จัดขึ้นในเดือนกันยายนของทุกปี ภายในงานจะมีหมูย่างสูตรพิเศษของเมืองตรังจากร้านต่างๆ ในจังหวัด งานจัดบริเวณสี่แยกธรรมรินทร์ ถนนสถานี
งานเทศกาลหอยตะเภา เป็นเทศกาลที่มุ่งส่งเสริมการอนุรักษ์ ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานจัดบริเวณชายหาดปากเมง ในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
วัฒนธรรม ท้องถิ่น
มโนราห์หรือโนรา ศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้โดยเฉพาะ มีท่ารำอ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฎิภาณไหวพริบสรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรี ประกอบด้วยกลอง ทับคู่ ฉิ่ง โหม่ง ปี่ชวาและกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วยหนังตะลุง ศิลปะ การแสดงพื้นบ้านที่นิยมกันมากทั่วภาคใต้ ใช้หนังสัตว์แกะเป็นรูปตัวละคร ตัวแสดงต่าง ๆ เช่น ฤาษี เจ้าเมือง ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์และตัวตลก เป็นต้น นำรูปหนังเชิดหลังจอผ่านแสงไฟส่องทำให้เกิดภาพสีและเงาปรากฎบนจอ นายหนังหรือผู้เชิดหนังตะลุง จะเป็นผู้ขับกลอนหรือพากษ์ไปด้วย จะเป็นผู้ที่มีไหวพริบเป็นเลิศและจะพากษ์คนเดียวตลอดเรื่อง เครื่องดนตรีเช่นเดียวกับมโนราห์ อาจเพิ่มซออู้ หรือซอด้วงไปด้วย
ลิเกป่า ลิเก บกหรือลิเกรำมะนาต่างจากลิเกโรงทั่วไป เพราะจะแต่งกายด้วยชุดธรรมดาไม่ใช่ชุดลิเก นิยมในหมู่ชาวไทยอิสลาม ใช้ผู้แสดง ๓ คนในฉากเดียวตลอดเรื่อง เปลี่ยนแปลงเฉพาะชื่อสถานที่ตามที่ไปแสดงเพื่อให้เข้ากับบรรยากาศนั้น ๆ เครื่องดนตรีจะมีรำมะนาด ๒-๓ ใบ ฉิ่ง โหม่ง ฆ้อง ปี่ชวา
ช้อป ปิ้ง - ของฝาก
จังหวัดตรังมีสินค้าพื้นเมืองเป็นของฝากของที่ระลึก คือ เสื่อเตยหรือเสื่อปาหนัน หมุก (ภาชนะใส่ของเล็ก ๆ น้อย ๆ ) ผลิตภัณฑ์เครื่องหนังปลากระเบน เช่น กระเป๋า รองเท้า จักสานต้นก้านธูปฤาษี ผลิตภัณฑ์ไม้แกะสลักเทพธาโรและไม้สะเดาเทียม บ้านหนองปรือ ผลิตภัณฑ์ของเล่นจากไม้ยางพาราและผ้าทอพื้นเมืองนาหมื่นศรี และยังมีสินค้าพื้นเมืองจำพวกขนมและอาหาร ได้แก่ หมูย่างสูตรเมืองตรัง ขนมเค้กลำภูรา อำเภอห้วยยอด กาแฟเขาช่อง กะปิท่าข้ามและทุเรียนก้านยาว อำเภอปะเหลียน หอยนางรมสด อำเภอกันตัง เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดตรัง โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๘๖๙๙, ๐ ๗๕๒๑ ๒๘๔๑
ร้าน จำหน่ายของที่ระลึก
ตรัง ไฮ-คลบาส ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์หนังปลากระเบน โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๑๑๖๗
แพลนทอยส์ จำหน่ายของเด็กเล่นที่ทำจากไม้ยางพารา อำเภอย่านตาขาว โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๒๙๔๘
ร้านเจ้าบ้าน จำหน่ายสินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ถนนวิเศษกุล (ข้างภัตตาคารโกยาว) โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๖๙๖๒, ๐ ๑๖๐๖ ๐๔๙๒
ศูนย์จำหน่ายสินค้าพื้นเมือง ถนนตรัง-พัทลุง (ข้างจวนผู้ว่าฯ) โทร. ๐ ๗๕๒๑ ๕๓๙๕


1 ความคิดเห็น: