วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ที่พัก, โรงแรม, จังหวัดเลย

(รหัสทางไกล 042ราคาห้องพักอาจเปลี่ยนแปลงได้ โปรดสอบถามจากโรงแรมก่อนเข้าพัก )

อำเภอเมืองเลย
ฟอร์ร่าฮิลล์ Forra Hill Resort 150 ถ.เลย-ด่านซ้าย ทร. สนง ราคา 1,000 - 3,250 บาท
เลยพาเลซ loei palace hotel 167/4 ถ.เจริญรัถ โทร. สนง ไทยทัวร์ 02 1641001-6 แฟกซ์ 02 1641010 ราคา 45 USD++
คิงส์ 11/9-12 ถนนชุมสาย โทร. 811783, 811701 จำนวน 50 หอง ราคา 300-1,000 บาท
ไทยอุดม 122/1 ถนนเจริญรัฐ โทร. 811763, 811789, 830193 จำนวน 76 ห้อง ราคา 200-600 บาท
ภูหลวง 55 ถนนเจริญรัฐ โทร. 811532, 811570 จำนวน 86 ห้อง ราคา 420-1,500 บาท
ภูกระแตรีสอร์ท 34 หมู่ 7 ตำบลนาอาน โทร. 812140, 813249 จำนวน 10 หลัง ราคา 350-700 บาท
ภูคำ สถาบันราชภัฎเลย โทร. 813416 จำนวน 20 ห้อง ราคา 50-300 บาท
รัชนีรีสอร์ท 247 หมู่ 5 ตำบลในเมือง โทร. 811522 จำนวน 5 หลัง ราคา 700-2,500 บาท
เมืองฝ้าย 191/1-9 ถนนเจริญรัฐ โทร. 811302 จำนวน 60 ห้อง ราคา 200-1,000 บาท
เมืองเลยรีสอร์ท ถนนเลย-วังสะพุง โทร. 832863 จำนวน 60 ห้อง ราคา 300-1,000 บาท
สาหร่ายทอง 25/5 ถนนร่วมจิต โทร. 811582, 811693 จำนวน 56 ห้อง ราคา 100-180 บาท

อำเภอเชียงคาน
บ้านห้วยแฝด New! อ.เชียงคาน จ.เลย ราคา 3,000 - 15,000 บาท
สุเนต์ตา New! 187/1 ม.2 ถนนชายโขง อ.เชียงคาน จ.เลย 42110 ราคา 700 - 1,200 บาท
แก่งคุดคู้รีสอร์ท 40/3 หมู่ 4 ตำบลเชียงคาน โทร. 821248 จำนวน 11 ห้อง ราคา 200 บาท
เชียงคานฮิลล์รีสอร์ท แก่งคุดคู้ 28/2 หมู่ 4 ตำบลเชียงคาน โทร. 821285 หรือกรุงเทพฯ โทร. (02) 580-6201, 588-3634 จำนวน 19 ห้อง ราคา 420-2,200 บาท
แนม เกสท์เฮ้าส์ 112 ถนนริมโขง โทร. 821295, 821342 จำนวน 5 ห้อง ราคา 150-250 บาท
น้องแซมเกสท์เฮ้าส์ 407 หมู่ 1 ตำบลเชียงคาน โทร. 821457 จำนวน 5 ห้อง ราคา 70-100 บาท
พูนสวัสดิ์ 251/2 ถนนชายโขง โทร. 821114 จำนวน 9 ห้อง ราคา 80-100 บาท
สุขสมบูรณ์ 243/2 ถนนชายโขง โทร. 821004 จำนวน 17 ห้อง ราคา 100-150 บาท

อำเภอปากชม
ปากชม เกสท์เฮ้าส์ ซอย 1 ถนนริมโขง โทร. 811021 จำนวน 3 หลัง ราคา 50-70 บาท

อำเภอวังสะพุง
ขุนแผนรีสอร์ท 404 หมู่ 6 ถนนมะลิวัลย์ โทร. 841500 จำนวน 17 หลัง ราคา 300-700 บาท
ภูผาสิงห์ วาเล่ย์ 222 ถนนเลย-อุดรฯ โทร. 841333, 841666 จำนวน 22 หลัง ราคา 500-3,500 บาท
ไร่นิยม กิโลเมตรที่ 13 ถนนเลย-วังสะพุง จำนวน 6 หลัง ราคา 200 บาท
วังน้ำพุรีสอร์ท 217 หมู่ 5 ถนนมะลิวัลย์ โทร. 850416-7 11 หลัง ราคา 200-400 บาท
หอหลวงรีสอร์ท 159 หมู่ 6 ตำบลปานปวน โทร. 841306 จำนวน 8 หลัง ราคา 250-1,500 บาท

อำเภอภูกระดึง
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง แผนกจองเต็นท์ที่สำนักป่าไม้จังหวัดเลย โทร. 811112 ราคา 50-100 บาท

อำเภอภูเรือ
ไทเลย 300 ปีรีสอร์ท ถนนภูเรือ ราคา 600-2400 โทร.09-1328773
นันทการีสอร์ท ถนนภูเรือ-ด่านซ้าย บ้านป่าจันตม โทร. 812885 จำนวน 8 หลัง ราคา 400 บาท
พิมพ์พรรีสอร์ท 99 หมู่ 2 ตำบลหนองบัว โทร. 899152 จำนวน 8 หลัง ราคา 1,000-1,500 บาท
ภูเรือรีสอร์ท 163 หมู่ 4 ตำบลหนองบัว โทร. 899048, 811182 บ้านพัก 9 หลัง เรือนแถว 21 ห้อง ราคา 700-2,500 บาท
ภูเรือชาเลย์ 110 ตำบลหนองบัว โทร. 899012 บ้านพัก 9 หลัง เรือนแถว 24 ห้อง ราคา 500-1,200 บาท
ภูเรือ รอยัล มิวส์ 47 บ้านโนนสมบูรณ์ ถนนเลย-หล่มสัก ตำบลสานปม อำเภอภูเรือ โทร. 891396-7 หรือกรุงเทพฯ โทร. (02) 513-7578-9 จำนวน 30 ห้อง ราคา 1,500 บาท
มณีนพรัตน์การ์เด้นฮิลล์ ตำบลหนองบัว โทร. 899056,899255-6 จำนวน 24 หลัง ราคา 800-1,500 บาท
ไร่ภักดีมิตร 109 หมู่ 4 บ้านหนองบัง โทร. 899118 จำนวน 9 ห้อง ราคา 800-1,800 บาท
ไร่วรัญญา ทางขึ้นอุทยานแห่งชาติภูเรือ โทร. 899020 จำนวน 6 หลัง ราคา 400-2,000 บาท
อุทยานแห่งชาติภูเรือ ติดต่อกองอุทยานแห่งชาติกรมป่าไม้ โทร. (02) 579-5734, 579-7223 จำนวน 30 ห้อง ราคา 500-1,200 บาท

อำเภอด่านซ้าย
ภูผาน้ำ รีสอร์ท Phu Pha Nam Resort, Loei 252 หมู่ 1 โคกงาม ราคา 2,900-5,000 บาท
รังเย็นรีสอร์ท 92 หมู่ 7 ต.โคกงาม อ.ด่านซ้าย จ.เลย 42120 บ้านพักส่วนตัวใกล้ภูเขา มีสนามกีฬา ราคาเริ่มต้นที่ 1,000 - 9,000 บาท













อำเภอนาแห้ว
นักรบรีสอร์ท หลังที่ว่าการอำเภอนาแห้ว จำนวน 9 หลัง ราคา 50-300 บาท

เที่ยว อำเภอนาแห้ว, เลย

วัดโพธิ์ชัยนาพึง
ตั้งอยู่ที่บ้านนาพึง ตำบลนาพึง มีพระพุทธรูปสำคัญศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวบ้าน คือพระเจ้าองค์แสน หรือพระพุทธรูปฝนแสนห่า ตามประวัติเล่าว่า เสด็จมาจากเมืองเชียงแสนด้วยพระองค์เอง มาประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย โดยมีฆ้องห้อยศอกมา 1 อัน และลูกแก้วเป็นทองสัมฤทธิ์ มาด้วย 1 องค์ พร้อมด้วยปืน 1 กระบอก ต่อมาเจ้าเมืองเชียงของทราบข่าวจึงยกขบวนพลช้าง พลม้าเพื่อที่จะอัญเชิญไปเชียงของ แต่ไม่สามารถอัญเชิญไปได้ และเล่ากันต่อมาว่า ถ้าพระพุทธรูปองค์นี้ เสด็จไปประดิษฐาน ณ ที่ใด ที่นั้นจะไม่มีการแห้งแล้ง จึงได้ชื่อว่าพระพุทธรูปฝนแสนห่า พระพุทธรูปองค์แสน เป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 34 เซ็นติเมตร สูง 50 เซ็นติเมตร เนื้อองค์ เป็นทองสัมฤทธิ์ พระสังฆาฏิเป็นทองนาค พอถึงฤดูตรุษสงกรานต์ ชาวบ้านจะนำพระพุทธรูปองค์แสนมาสรงน้ำและทำพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงทุกปี โบสถ์และวิหารที่วัดแห่งนี้ก่อสร้างด้วยฝีมือประณีต ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติต่าง ๆ กรมศิลปากรได้ทำการตรวจสอบแล้ว พบว่า ทั้งโบสถ์ วิหาร และพระพุทธรูปนั้นมีอายุประมาณ 400 ปี นับเป็นโบราณสถานและโบราณวัตถุที่มีค่า ยิ่งของจังหวัดเลย
การเดินทาง ใช้เส้นทางเลย-ด่านซ้าย ไปประมาณ 82 กม. แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2113 เส้นด่านซ้าย-นาแห้ว ไป 23 กม.

อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย
มีพื้นที่ทั้งหมด 73,225 ไร่ ภูมิประเทศประกอบด้วยขุนเขาสลับซับซ้อนทอดตัวเป็นแนวยาวจากเหนือจรดใต้ สภาพป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบแล้งที่มีไม้ผลัดใบผสม ตามพื้นที่สูงเป่าดิบเขา เป็นพรหมแดนธรรมชาติระหว่างแผ่นดินไทย-ลาว สัตว์ป่าที่พบเห็น ได้แก่ เลียงผา หมาใน นกเหยี่ยว เต่าปูลู
สถานที่น่าสนใจอื่นๆ น้ำตกคิ้ง น้ำตกช้างตก น้ำตกตาดเหือง หินสี่ทิศ จุดชมวิว 1255 ฯล

น้ำตกตาดหมี
เป็นน้ำตกที่กั้นลำน้ำหู ซึ่งมีต้นกำเนิดจากภูขาด อยู่ในพื้นที่ของตำบลนาพึง การเดินทางจาก อำเภอถึงบริเวณน้ำตก โดยทางสายนาแห้ว-ด่านซ้าย ถึงทางแยกบ้านเกลี้ยงเป็นระยะทาง 6 กม. จากบ้านเกลี้ยงเข้าไปถึงน้ำตก เป็นทางเดินเท้าประมาณ 3 กม. ใช้เวลาเดินทางประมาณ 40 นาที น้ำตกตาดหมีเป็นน้ำตกที่สวยงามมาก มีน้ำตลอดทั้งปี มีความสูงประมาณ 30 เมตร นอกจากนั้นยังมีลำธารน้อยใหญ่ แก่งต่าง ๆ บริเวณน้ำตกเป็นป่าทึบเนื่องจากไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า

น้ำตกธารสวรรค์
เป็นน้ำตกที่ใกล้ตัวอำเภอมากที่สุด อยู่หลังโรงเรียนนาแห้ววิทยา ซึ่งห่างจากอำเภอประมาณ800 เมตร การเดินทางโดยรถยนต์เข้าถึงบริเวณน้ำตกได้โดยสะดวก น้ำตกแห่งนี้มีความสูงประมาณ 15 เมตร บริเวณน้ำตกมีศาลาพักร้อนสำหรับนั่งพักผ่อนหย่อนใจ ตอนล่างมีก้อนหินน้อยใหญ่ เรียงรายอย่างสวยงาม มีสาหร่ายและพันธุ์ไม้นานาชนิดขึ้นบริเวณริมฝั่งสองข้างทาง

น้ำตกขั้นบันได
อยู่เหนือน้ำตกธารสวรรค์ประมาณ 1 กม.การเดินทางจากน้ำตกธารสวรรค์ไปน้ำตกขั้นบันได โดยทางเท้าประมาณ 10 นาทีแต่ละขั้นของน้ำตกประมาณ 4-7 เมตร ป่าไม้ยังคงอุดมสมบูรณ์ มีชั้นหินเรียงรายกันเป็นทอด ๆ
จองที่พัก โรงแรม คลิ๊กดูที่นี่ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บ้านพัก สไตล์บ้านสวนที่ ราชบุรี



ที่นี่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการพักผ่อนจริงๆ หากใครที่เครียด เหนื่อยหน่ายจากภาระหน้าที่การงาน ที่หนักหนาในสังคมเมืองใหญ่ ขอแนะนำว่าลองหลบหลีกความวุ่นวายของสังคมเมืองไปลองใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบชาว สวนดูบ้างแล้วคุณจะพบว่าความสุข ไม่ได้มาจากวัตถุนิยมหรือเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำเสมอไป แต่มันเกิดขึ้นได้ทุกที่โดยไม่ต้องดิ้นรนเสาะหา




เช่นที่นี่ บ้านสวนชายน้ำ จังหวัดราชบุรี ไม่ไกลจากกรุงเทพฯมากนัก เป็นบ้านพักท่องเที่ยวที่เน้นให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนและสัมผัสชีวิตแบบ ชาวสวนริมคลองแท้ๆ ไม่มีการจัดฉาก กิจกรรมที่เรียบง่ายแต่ทว่าน่าสนใจสำหรับผู้ที่ไม่เคยสัมผัสกับชีวิตชาวสวน กิจกรรมต่างๆที่มี อาทิ ท่องเที่ยววิถีชีวิตชาวสวนดำเนินสะดวก ราชบุรี เที่ยวชม ตลาดน้ำ ล่องเรือดูวิถีชีวิตริมคลองดำเนินสะดวก ที่พระราชทานโดย รัชกาลที่ ๔ และไปเที่ยวบ้านใกล้เรือนเคียง ตลาดน้ำอัมพวา ดูหิ่งห้อยยามค่ำคืน





กิจกรรมที่น่าสนใจ
เดินชมสวน ดื่มน้ำมะพร้าวอ่อนสด ๆ จากสวน
พายเรือเล่นในลำคลอง เดินชมสวน ดูวิถีชีวิตชาวสวน
เดินทางไปเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวกโดยทางเรือ ซื้อผลไม้ชาวสวน
ล่องเรือเที่ยวคลองดำเนินสะดวก ดูวิถีชีวิตชาวคลองที่ร.๕ เคยเสด็จประพาส ให้อาหารปลาหน้าวัด
ไป เที่ยวตลาดน้ำยามเย็นอัมพวา รับประทานอาหารอร่อย ราคากันเองมาก จากแม่ค้าท้องถิ่นที่ตลาดน้ำตามอัธยาศัย ล่องเรือเที่ยวชมหิ่งห้อยยามค่ำคืน



และก่อนกลับบ้านอยากให้แวะ ชมที่ต่างๆ เหล่านี้เพื่อตักตวง กักตุน ความสุขจากการพักผ่อนให้เต็มที่ เพื่อเป็นพลังในการสู้งานสู้ชีวิตกันต่อ มีที่ ที่อยากแนะนำดังนี้ครับ
วัด(ค่าย)บางกุ้ง วัดโบราณสมัยอยุธยา เป็นค่ายรบกับพม่าในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ชมโบสถ์ปรกโพธิ์ เก่าแก่กว่า ๑๐๐ ปี ซึ่งมีต้นโพธิ์เจริญเติบโตปกคลุมตัวโบสถ์ มีที่เดียวในประเทศไทย (UNSEEN THAILAND)
อุทยาน ร.๒ ชมเรือนไทยหมู่ เครื่องดนตรีไทย และงานส่งเสริมในพระราชดำริของพระเทพฯ
ผลิตภัณฑ์และขนมไทยๆ มีบรรยากาศร่มรื่นริมแม่น้ำแม่กลอง
วัดบางแคน้อย ชมโบสถ์ไม้สักแกะสลัก ๓ มิติงดงามที่หาชมได้ยาก ศิลปะล้ำค่าแห่งลุ่มแม่น้ำแม่กลอง
ตลาดแม่กลอง ตลาดเก่าแก่ดั้งเดิม มีชื่อเสียงมานาน ซื้ออาหารทะเลสดหรือแห้ง คุณภาพดี
ดอนหอยหลอด นมัสการกรมหลวงชุมพร อาหารทะเลอร่อย ชมวิวชายเลน แหล่งหอยหลอด
วัดศรัทธาธรรม เที่ยวชมโบสถ์ไม้สักทองฝังมุก ซื้อกะละแมโบราณ
อื่นๆ ทำบุญไหว้พระ ๙ วัด ภายในวันเดียว บนเส้นทางดำเนินสะดวกกับอัมพวา

สนใจที่จะลองพักผ่อนแบบเรียบง่าย สไตล์บ้านสวนก้ลองติดต่อพูดคุยขอรายละเอียด จองที่พักล่วงหน้าได้ที่หมายเลขนี้ดู 032-253706, 081-733-4353, 086-102-0557, 081-988-7473

และเมื่อเข้าที่พักแล้วสิ่งที่อยากจะแนะนำท่านก็คือ ปิดอุปกรณ์การสื่อสารที่จะติดต่อกับโลกภายนอกทุกชนิดแล้วลองใช้ชีวิตแบบย้อนอดีต ซัก 5 วันแล้วท่านจะรู้ว่าความสุขที่แท้จริงคือ ความสงบเรียบง่ายนั่นเอง ...ขอให้มีความสุขกับการเที่ยวเมืองไทยทุกท่าน ไป-มาปลอดภัยนะครับ

วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ตารางเดินเรือและค่าโดยสารไปเกาะหลีเป๊ะ สตูล


เกาะสิเป๊ะหรือเกาะหลีเป๊ะ อยู่ทางใต้ของเกาะอาดัง 2 กิโลเมตร มีชุมชนชาวเลอาศัยอยู่หลายครัวเรือน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการประมง ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 6 และเดือน 12 ตลอด 3 วัน 3 คืน ชาวบ้านทีมีเชื้อสายชาวเลจะร่วมกันจัดงานรื่นเริง และที่สำคัญที่สุดคือ ชาวบ้านจะช่วยกันต่อเรือด้วยไม้ระกำ และประกอบพิธีลอยเรือด้วยเป็นความเชื่อว่าเป็นการเสี่ยงทายโชคชะตาในการ ประกอบอาชีพประมง

จุดเด่นของเกาะหลีเป๊ะ คือ ความเป็นธรรมชาติของปะการังรอบเกาะ มีเวิ้งอ่าวที่สวยงาม หาดทรายละเอียดนิ่มเหมือนแป้ง มีอ่าวที่สวยงามชื่อ "อ่าวพัทยา"และ "หาดชาวเล" มีลักษณะโค้งเว้า ทรายขาวละเอียด ซึ่งทั้งสองหาดนี้สามารถเดินถึงกันได้โดยใช้เวลาประมาณ 15 นาที และยังมีบริการบ้านพักของเอกชนคอยบริการนักท่องเที่ยวอีกด้วย นักท่องเที่ยวสามารถเช่าเรือไปยังเกาะต่าง ๆ ได้ในราคาลำละ 1,500-1,800 บาท นั่งได้ 8-9 คน โดยติดต่อกับทางรีสอร์ทที่มีบริการทัวร์

การเดินทางโดยเรือโดยสารไปอุทยานแห่งชาติตะรุเตาและเกาะใกล้เคียง
ใน ช่วงเทศกาลท่องเที่ยวประมาณเดือนพฤศจิกายน-เมษายน มีบริการเรือโดยสารสู่เกาะต่าง ๆ ในเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ของบริษัทต่าง ๆ (ตารางและเวลาเดินเรืออาจมีการเปลี่ยนแปลง กรุณาสอบถามรายละเอียดก่อนเดินทาง) ดังนี้

1. ซีแอท ฮอลิเดย์ โทร. +668 9655 5707, +668 4407 2587, +66 7478 3222 (สอบถามโดยตรง)
2. อาดัง ซี แอดเวนเจอร์ โทร. +66 7478 3338, +668 9735 7637, +668 1609 2604

ออกจากปากบารา ถึงตะรุเตา ถึงหลีเป๊ะ
10.30 น. 11.30 น. 15.00 น.
13.30 น. 14.30 น. 17.00 น.

ออกจากหลีเป๊ะ ถึงตะรุเตา ถึงปากบารา
09.00 น. 11.30 น. 12.30 น.
10.00 น 12.30 น.

เกาะตะรุเตา ค่าโดยสาร 250 บาท (เที่ยวเดียว) 400 บาท (ไป-กลับ)
เกาะหลีเป๊ะ ค่าโดยสาร 550 บาท (เที่ยวเดียว) 1,000 บาท (ไป-กลับ)

3. บริษัท หลีเป๊ะ เฟอรี่ แอนด์ สปีดโบ๊ท จำกัด (เรือ Speed boat 45 ที่นั่ง) โทร. +668 1609 1413, +668 1598 3111

ออกจากปากบารา ถึงตะรุเตา ถึงหลีเป๊ะ
11.00 น. 11.20 น. 11.30-12.30 น.
13.00 น. 13.20 น. 13.30-14.30 น.

ออกจากหลีเป๊ะ ถึงตะรุเตา ถึงปากบารา
09.30 น. 10.30 น. 11.30 น.
10.30 น. 11.15 น. 12.00 น.

เกาะตะรุเตา ค่าโดยสาร 300 บาท (เที่ยวเดียว) 500 บาท (ไป-กลับ)
เกาะหลีเป๊ะ ค่าโดยสาร 650 บาท (เที่ยวเดียว) 1,200 บาท (ไป-กลับ)

4. บริษัท เกอร์ ไลน์ ทราเวล จำกัด (เรือเฟอรี่ด่วนปรับอากาศ) โทร. +66 7473 2510 -1

ออกจากปากบารา ถึงตะรุเตา ถึงหลีเป๊ะ
11.30 น. 12.00 น. 13.30 น.
13.30 น. 14.00 น. 16.00 น.

ออกจากหลีเป๊ะ ถึงตะรุเตา ถึงปากบารา
09.00 น. 10.30 น. 11.30 น.
14.00 น. (วิ่งเฉพาะเทศกาล) 14.45 น. 15.30 น.

เกาะตะรุเตา ค่าโดยสาร 300 บาท (เที่ยวเดียว) 500 บาท (ไป-กลับ)
เกาะหลีเป๊ะ ค่าโดยสาร 650 (เที่ยวเดียว) 1,100 (ไป-กลับ)

ระยะทางระหว่างเกาะ
ท่าเรือปากบารา
- อ่าวพันเตมะละกา (เกาะตะรุเตา) 22 กิโลเมตร
- เกาะอาดัง 80 กิโลเมตร
- เกาะหลีเป๊ะ 82 กิโลเมตร

เกาะตะรุเตา
- หมู่เกาะอาดัง-ราวี 40 กิโลเมตร
- เกาะหลีเป๊ะ 40 กิโลเมตร
- เกาะไข่ 14.5 กิโลเมตร

เกาะอาดัง
- เกาะหลีเป๊ะ 2 กิโลเมตร
- เกาะหินงาม 2.5 กิโลเมตร
- เกาะไข่ 17 กิโลเมตร

ฝากไว้เผื่อท่านใดเบื่อชีวิตบนฝั่งอยากไปนั่งพักเว้นวรรคชีวิตที่มัลดีฟว์ เมืองไทย จะได้ใช้วางแผนการเดินทางได้ครับ เที่ยวเมืองไทย ช่วยเศรษฐกิจไทย สร้างรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่กันครับ ขอให้เที่ยวให้สนุกและปลอดภัยทุกทริปเดินทาง

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

10 อันดับที่เที่ยวสวยที่สุดในประเทศไทย

อันดับที่ 10 เกาะตะปู

เกาะตะปู ตั้งอยู่ในบริเวณทะเลด้านนอกทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอุทยานแห่งชาติอ่าว พังงา คิดเป็นระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร จากที่ทำการอุทยานฯตามลำคลองเกาะปัน หยีจังหวัดพังงา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย อยู่ทางด้านเหนือในเวิ้งอ่าวของเกาะเขาพิงกัน เกาะตะปู มีลักษณะเป็นเกาะเดี่ยว รูปร่างคล้ายตะปู มีศัพท์เฉพาะทางธรณีวิทยาว่า เกาะหินโด่ง (Stack) การชมเกาะตะปูต้องชมในระยะไกลจากเรือ หรือจากสันดอนของเกาะเขาพิงกัน ไม่สามารถขึ้นไปบนเกาะได้

อันดับที่ 9 เกาะเต่า

เกาะเต่า มีพื้นที่อยู่ใน ฝั่งของทะเลอ่าวไทย และอยู่ในเขตการปกครองของจังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะของสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เกาะเต่า จะมีลักษณะที่โค้งเว้า เหมือนกับเมล็ดถั่ว ซึ่งเกาะเต่า จะตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ เกาะพงัน จ.สุราษฏร์ธานี ระยะทางจากเกาะพงันถึงเกาะเต่า ประมาณสี่สิบห้ากิโลเมตร นอกจากนี้ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ในบริเวณใกล้เคียงกับเกาะเต่ายังมีเกาะนางยวนซึ่ง เป็นเกาะเล็กๆ ด้านตะวันตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเต่า มีสันทรายเชื่อมต่อกับเกาะเต่าใน ลักษณะเหมือนทะเลแหวก เป็นแหล่งดำน้ำชมปะการังอีกแห่งหนึ่ง

อันดับที่ 8 อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ ครอบคลุมอยู่ในท้องที่อำเภอดอยหล่อ อำเภอจอมทองและอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย ในวันที 13 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2521 คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ได้ประกาศให้ดอยอินทนนท์เป็นอุทยานแห่งชาติ

อันดับที่ 7 หัวหิน

หัวหิน เป็นอำเภอที่ทุกคนรู้จักกันเป็น อย่างดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยเดิมมีชื่อว่า "บ้านสมอเรียง" หรือ "บ้านแหลมหิน" ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่ หัว (รัชกาลที่ 7) ได้ทรงสร้างวังไกลกังวลเพื่อประทับพักผ่อนในฤดูร้อน และปัจจุบันวังไกลกังวลนั้นเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์องค์ ปัจจุบัน

อันดับที่ 6 พัทยา

พัทยา หรือ เมืองพัทยา เป็นเขตปกครองพิเศษ เขตหนึ่งที่ตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ฉบับวันที่ 29 พฤจิกายน พ.ศ. 2521 (เทียบเท่าเทศบาลนคร) ในเขตจังหวัดชลบุรี จัดเป็น สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เมืองท่องเที่ยวนานาชาติที่มีชื่อเสียงระดับโลกโดยเฉพาะหาดทราย ที่ ทอดยาวไปตามแนวชายฝั่งทะเล จัดได้ว่า สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย มีความสวยงามอีก แห่งของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 140 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลทางทิศตะวันออกของอ่าวไทย ซึ่งพัทยาแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พัทยาเหนือ พัทยากลาง พัทยาใต้ และหาดจอมเทียน

อันดับที่ 5 เกาะช้าง

เกาะช้าง เป็นสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่เกาะที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากเกาะภูเก็ต เกาะช้างมีโรงแรมและรีสอร์ตมากมาย ทำให้นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำ และด้วยภูมิประเทศที่มีป่าเขาอยู่กลางเกาะ นักท่องเที่ยวจึงสามารถท่องเที่ยวแบบเดินป่า ขี่ช้างก็ได้เช่นกัน

อันดับที่ 4 เกาะสมุย

เกาะสมุย เดิมเกาะสมุยมีชื่อเสียงในฐานะเป็นแหล่งปลูกมะพร้าว ปัจจุบันเป็นสถานที่พักผ่อนตากอากาศที่ชาวต่างประเทศนิยมเดินทางมาท่อง เที่ยว มีร้านค้า โรงแรม และสถานบันเทิงต่าง ๆ มากมาย หาดที่เป็นที่เชิดหน้าชูตาของคนเกาะสมุย คือ หาดเฉวง บริเวณชายหาดยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ถ้าได้ลงมือเดินตั้งแต่ต้นหาด จนกระทั่งถึงปลายหาดจะใช้เวลาประมาณถึง 2 ชั่วโมง เพราะการเดินบนผืนทรายไม่เหมือนการเดินบนพื้นดินปรกติ หาดที่มีความสวยงามเป็นอันดับรองลงมา คือ หาดละไม หาดเชิงมนต์ แหลมโจรคร่ำ หาดท้องยาง หาดหน้าทอน หาดพังกา และหาดตลิ่งงาม นอกจากธรรมชาติที่สวยงามของอำเภอเกาะสมุยแล้ว ยังมีกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก คือ "สปา" หรือการดูแลรักษาสุขภาพโดยการใช้น้ำบำบัด เช่น การอาบ-การแช่น้ำแร่หรือน้ำร้อน

อันดับที่ 3 หมู่เกาะพีพี

อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ใน ทะเลอันดามันด้านทิศตะวันตกของภาคใต้ สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะสวยงามตามธรรมชาติ รอบ ๆ เกาะมีปะการัง กัลปังหา ทิวทัศน์ใต้ทะเลที่งดงาม และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติคือภูเขาหินปูนที่มีหน้าผาเป็นชั้น ๆ ถ้ำที่สวยงาม ตลอดจนชายหาดยาวสะอาด สุสานหอย 40 ล้านปี ซึ่งมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 389.96 ตารางกิโลเมตร หรือ 243,725 ไร่

อันดับที่ 2 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่เกาะที่มีความสวยงามทั้งบนบกและใต้น้ำ มีปะการังที่สวยงามหลายชนิด สามารถดำน้ำได้ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก สามารถพบปลาที่หายาก เช่น วาฬ โลมา ปลาไหลมอเร่(moray) ช่วงเดือนที่น่าเที่ยวมากที่สุด คือช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนเมษายน นอกจากนั้นจะประกาศปิดเกาะ

อันดับที่ 1 หาดป่าตอง

หาดป่าตอง อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตไป ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 15 กิโลเมตร นับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย หาดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของภูเก็ต เป็นชายหาด สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ที่เพียบพร้อมด้วยสิ่ง อำนวยความสะดวก เช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านดำน้ำ ร้านขายอุปกรณ์กีฬาทางน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมาย ไว้คอยบริการแก่นักท่องเที่ยว ด้วยชายหาดที่มีความยาวกว่า 4 กิโลเมตร และสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน ป่าตองจึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยที่มีผู้นิยมมาเยือนมากที่สุด หาด ป่าตองถูกถล่มโดยคลื่นสึนามิในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ปัจจุบันหาดป่าตองเป็นหนึ่งในชายหาดสำคัญที่ได้รับการติดตั้งระบบเตือนภัยสึ นามิ มีการซักซ้อมการอพยพและการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวอยู่อย่างสม่ำเสมอเป็น ระยะๆ

วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

งานสารทไทยกล้วยไข่ เมืองกำแพง

ณ บริเวณลานโพธิ์ หน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร ขอเชิญทุกท่านร่วมสนุกกับงานสารทไทยกล้วยไข่ เมืองกำแพง จ.กำแพงเพชร ซึ่งจัดขึ้นเป็นเวลากว่า 39 ปีมาแล้ว ตั้งแต่ พ.ศ.2524 เป็นการส่งเสริมการขายกล้วยไข่ ของดี ของเด่น ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ในแต่ละปีงานสารทไทยจะตรงกับ วันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ตามจันทรคติ ซึ่งในฤดูกาลนี้กล้วยไข่จะมีผลผลิตออกมามาก เมื่อมีงานบุญต่างๆที่มีการทำบุญตักรบาตรก็มักจะใช้กล้วยไข่เป็นผลไม้และมี กระยาสารททานคู่กันเป็นของหวานเสมอมาจนถึงปัจจุบัน งานสารทไทยกล้วยไข่ เมืองกำแพง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-17 ตุลาคม 2553 บริเวณลานโพธิ์ หน้าที่ว่าการอำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร มีกิจกรรมให้ทุกท่านได้ร่วมสนุกมากมาย อาทิ การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถ 13 ขบวนที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงระบำกล้วยไข่จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรซึ่งร่วมกับชมรมนาฏ ศิลป์ศูนย์จริยะศึกษา และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง ในงานนี้ทุกท่านจะได้ชิมกระยาสารทแสนอร่อยจากยอดฝีมือที่ชนะเลิศการประกวด จากปีก่อนๆ เชิญชวนทุกท่านสู่มหกรรม ชิม ชม ช็อป กระยาสารท และมหรสพต่างๆอีกมากมาย

นอกจากนี้ยังมี กิจกรรมผ้าป่าแถว กิจกรรมทางพุทธศาสนาที่เป็นประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่พุทธกาล โดยสมัยก่อนกว่าที่พระภิกษุจะมีจีวรใส่นั้น พระภิกษุต้องเก็บเศษผ้าที่ถูกตัดทิ้งไว้หรือแม้แต่นำผ้าที่ห่อศพของมนุษย์มา ตัดเย็บเป็นจีวรและนำไปย้อมกับเปลือกไม้ย้อมฝาด กลายมาเป็น ผ้ากาสาวพัตร์ ในสมัยต่อมาพระภิกษุไม่สามารถหาเศษผ้ามาทำจีวรได้เพียงพอกับจำนวนพระภิกษุ ชาวบ้านจึงนำผ้าไปตัดเย็บแล้วไปทิ้งไว้ตามป่า พาดไว้ตามกิ่งไม้เรียกกันว่า ผ้าป่า กลายเป็นชื่อสั้นๆที่ใช้เรียกสืบต่อกันมา จังหวัดกำแพงเพชรมีการจัดประเพณีการทอดผ้าป่าแต่เนื่องด้วยมีประชาชนที่ เลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาจำนวนมากการทอดผ้าตามเดิมจึงเกิดปัญหาในการ จัดการขึ้น หลังจากนั้นการทอดผ้าจึงถูกจัดระบบใหม่ให้เรียงเป็นแถวระยะตรงตามจำนวนของ ผู้ที่มาทอดผ้าป่าให้พระภิกษุและประชาชนได้พบกันและหาผ้าได้ง่ายขึ้น จึงกลายเป็นประเพณีสืบต่อกันมา เรียกว่า “ผ้าป่าแถว”ในที่สุด การทอดผ้านั้นมีอยู่ทั่วไปทุกจังหวัดทั่วทุกมุมโลกแต่ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน ของชาวจังหวัดกำแพงเพชรทำให้ประเพณี ผ้าป่าแถว กลายเป็นหนึ่งเดียวในประเทศไทย โดยมีเป้าหมายสำคัญคือให้พระภิกษุได้มีเครื่องนุ่งห่มหลังจากจำพรรษาครบสาม เดือนและมีจีวรใหม่ออกไปเทศนาโปรดชาวบ้านกลายเป็นประเพณีที่ชาวกำแพงเพชรรักษาไว้สืบต่อจนถึงรุ่นลูกหลานได้รู้จัก ประเพณีที่ดีงามนี้สืบไป

สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- ประชาสัมพันธ์จังหวัดกำแพงเพชร 055-705011
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานสุโขทัย 055-616228-9 โทรสาร 055-616366

งานกินเจ "เมืองตรัง"



ประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดตรัง จัดระหว่างวันที่ 8-16 ตุลาคม 2553 โดยมีศาลเจ้าต่างๆ ทั่วทั้งจังหวัดตรังร่วมจัดงาน ทั้งนี้ภายในเขตตัวเมืองตรัง มีศาลเจ้าที่ร่วมถือศีลกินผักและจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในศาลเจ้า ได้แก่ ศาลเจ้าพ่อหมื่นราม ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย ศาลเจ้าพ่อเสือ และศาลเจ้าไต้เสี่ยฮุดโจ้ว โดยมีกิจกรรมหลักๆ อาทิ พิธีเดินธูปเวียนเทียนสะเดาะเคราะห์ พิธีข้ามสะพานสะเดาะเคราะห์ พิธีไต่บันไดมีด และกิจกรรมที่สำคัญที่รอคอยให้นักท่องเที่ยวได้ชมและสัมผัสกับประเพณีโบราณ อันศักดิ์สิทธิ์ คือ ขบวนแห่พระออกเยี่ยมประชาชนในเขตเทศบาลนครตรัง หรือ ที่เรียกว่า “พระออกเที่ยว” โดยมีกำหนดการดังนี้
1. ศาลเจ้าพ่อหมื่นราม วันที่ 11 ตุลาคม 2553 ช่วงบ่าย
2. ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย วันที่ 13 ตุลาคม 2553 ช่วงเช้า
3. ศาลเจ้าพ่อเสือ วันที่ 14 ตุลาคม 2553 ช่วงเช้า
4. ศาลเจ้าไต่เสี่ยวฮุดโจ้ว วันที่ 14 ตุลาคม 2553 ช่วงเย็น
นอก จากพิธีกรรมที่ศาลเจ้าต่างๆ แล้ว เทศบาลนครตรังได้จัดงานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดตรัง ระหว่างวันที่ 8-11 ตุลาคม 2553 ณ บริเวณสี่แยกหอนาฬิกา โดยมีกิจกรรมประกอบด้วย พิธีสวดมนต์ พิธีเดินธูปเวียนเทียน โชว์การแสดงมังกร การเชิดสิงโต การประกวดธิดาเจ้าแม่กวนอิม การแข่งขันเซียนพันธุ์แท้ประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดตรัง การแข่งขันโต้วาที การจำหน่ายอาหารเจ และการแสดงบนเวทีอีกมากมาย รวมทั้งกิจกรรมที่ยิ่งใหญ่อีกกิจกรรมหนึ่ง คือ การจุดประทัดไม่น้อยกว่า 300,000 นัด ณ บริเวณหอนาฬิกาจังหวัดตรัง โดยศาลเจ้าไต่เสี่ยฮุดโจ้ว
สำหรับ นักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะร่วมรับพระในวันที่พระออกเยี่ยมรอบตลาดเมืองตรัง ในวันที่ 11 และ 13 ต.ค. 53 สามารถติดต่อจองโต๊ะบูชาองค์ศักดิ์หรือรับพระได้ที่หอการค้าจังหวัดตรัง ราคา 899 บาท (จุดตั้งโต๊ะบูชาบริเวณถนนสถานี หน้าโรงแรมธรรมรินทร์) หรือสามารถร่วมรับพระ บูชาองค์ศักดิ์สิทธิ์ได้กับทางเทศบาลนครตรัง ซึ่งได้จัดโต๊ะบูชาไว้บริเวณเกาะกลางถนน หน้าสำนักงานเทศบาลนครตรัง

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

แข่งเรือหลังสวน(ตอนจบ)

“การแข่งขันเรือยาวหลังสวน” เริ่มมีขึ้นเมื่อใดนั้นไม่มีใครทราบแน่ชัด แต่คาดคะเนกันว่ามีมานานกว่าร้อยปี เพราะผู้ที่เป็นปู่ย่าตาทวดได้เล่าให้ลูกหลานฟังสืบทอดกันมาหลายชั่วคน ซึ่งหากจะว่าไปแล้วการแข่งขันเรือยาวในประเทศไทย หรือที่ใดๆในโลกก็มีกันอย่างแพร่หลาย ถ้าหากสถานที่นั้นๆ มีแม่น้ำลำคลองที่กว้างยาวพอที่จะใช้เป็นสนามแข่ง และการตัดสินแพ้ชนะก็คล้ายๆกัน คือจะถือเอาโขน (หัวเรือ)ที่เข้าเส้นชัยก่อนเป็นฝ่ายชนะ แต่ที่หลังสวนจากแตกต่างจากที่อื่นๆ ตรงจุดนี้ เพราะการที่หัวเรือเข้าเส้นชัยก่อนไม่ได้หมายความว่าเรือลำนั้นจะเป็นฝ่ายชนะ หากไม่สามารถชิงธงได้ ซึ่งนั่นเท่ากับว่าแพ้หรือชนะก็ย่อมต้องขึ้นอยู่กับความสามารถเฉพาะตัวของนายหัวเรืออีกด้วย ในการที่จะกะจังหวะเวลาไต่โขนและชิงธง ซึ่งธงที่ทำด้วยหวายเส้นเล็กสอดร้อยท่อไม้ไผ่ (แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นท่อ พีวีซี.) ผูกธงเล็กๆสีแดงไว้ที่ปลายทั้งสองด้าน หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดดึงธงได้ก่อนอีกฝ่ายก้จะไม่สามารถจับธงได้อีก ซึ่งจุดเสันชัยก็จะเป้นจุดที่มีกองเชียร์หนาแน่นที่สุด เพราะต้องลุ้นและเอาใจช่วยบรรดาฝีพายของตำบลตัวเอง และนี่ความแปลกแตกต่างที่ไม่เหือนการแข่งเรือที่ใดในโลก นี่คือการแข่งเรือขึ้นโขนชิงธง วัฒนธรรมประเพณีที่มีเฉพาะลุ่มน้ำหลังสวน จ.ชุมพรเท่านั้น ในปี 2553 การจัดงานแข่งเรือ หรืองานเรือแข่งที่ชาวหลังสวนเรียกกัน จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 24-28 ตุลาคม 2553 โดยในงานจะมีกิจกรรมเด่นๆดังนี้


ก่อนถึงวันงาน 1 วัน คือวันขึ้น 15 ค่ำ จะมีกิจกรรม ปิดเมืองกินฟรี (วันที่ 23 ตุลาคม 2553 เริ่มเวลาประมาณ 18.00 น. ถึง 21.00 น.)เป็นกิจกรรมที่มีจุดประสงค์เพื่อรวมน้ำใจชาวอำเภอ หลังสวน ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และเป็นการประชาสัมพันธ์เมือง หลังสวน โดยผู้คนในอำเภอ หลังสวน และอำเภอใกล้เคียง ร่วมกันนำอาหาร คาวหวาน มาบริการกันเอง โดยมีคณะกรรมการจัดหาอุปกรณ์ไว้บริการให้ทุกคน "งานนี้กินฟรี...ครับ" บนถนนเส้น หลังสวน ยาวเหยียดระยะทางเกือบ 3 กิโลเมตร

วันที่ 24 ตุลาคม 2553 จะมีกิจกรรมหลักที่เป็นไฮไลท์ของงานที่พลาดไม่ได้เลยประกอบด้วย
การตักบาตรเทโวโรหน และทอดผ้าป่า ซึ่งคณะกรรมการจัดงานนิมนต์พระภิกษุสงฆ์จากทุกวัดในอำเภอหลังสวน รับบิณฑบาตรและรับผ้าป่าโดยมีประชาชน ร่วมกันทำบุญตักบาตรเทโวฯและทอดผ้าป่า ในเช้ามืดวันที่ เวลาประมาณ 06.00 น. หลังจากตักบาตรเทโวฯ กิจกรรมถัดมาบนถนนสายเดียวกัน ก็จะเริ่มพิธีชักพระแห่เรือพระบก เวลาประมาณ 10.00 น.เป็นประเพณีที่ชาวหลังสวนทุกตำบลรร่วมกับวัดจัดตกแต่งประดับประดาเรือพระบก ให้มีความสวยงามและสร้างสรรค์ พร้อมจัดขบวนพาเหรดที่สวยงานตระการตา แล้วนำมาเข้าร่วมขบวนแห่ซึ่งในกิจกรรมนี้จะมีการประกวดเรือพระและขบวนแห่ด้วย ใครที่ชอบถ่ายภาพต้องเตรียมกล้องให้พร้อม เตรียมเมมโมรี่การ์ดและแบตเตอรี่ไปให้พอ จะได้ไม่พลาดภาพสวยๆ ในการแห่เรือพระบก จะมีการอัญเชิญโล่ และถ้วยพระราชทาน ร่วมไปในขบวนพาเหรดนี้ด้วย นอกจากนี้ พี่น้องประชาชนยังจะได้ร่วมทำบุญกับเรือพระบกจากวัดต่างๆ อีกด้วย ขบวนแห่เรือพระบกประกอบไปด้วย กลองยาว วงโยธวาทิต วงดุริยางค์ เคลื่อนผ่านตลาด หลังสวน เข้าสู่ศาลาเอนกประสงค์ หน้าที่ว่าการอำเภอ หลังสวน เพื่อร่วมทำพิธีเปิดงาน ขบวนแห่ที่ชนะเลิศจะได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร

หลังจากเสร็จสิ้นพิธีทางบกแล้วในช่วงภาคบ่ายจะเริ่มพิธีทางน้ำนั่นคือ พิธีแห่เรือทางชลมารค เวลาประมาณ 13.00 น. กิจกรรมนี้จะมีขึ้นที่สนามแข่งเรือในแม่น้ำหลังสวน โดยเริ่มจากบริเวณสะพานรางรถไฟที่เป็นจุดปล่อยเรือแล้วล่องตามน้ำไปประมาณ 500 เมตร ผ่านหน้าศาลาพิธีทางน้ำที่เป็นที่อัญเชิญโล่ห์พระราชทานอยู่ ณ จุดนี้ ทั้งนี้ทางคระกรรมการจัดงานโดยได้รับการสนับสนุนจาก กองเรือเล็กแผนกเรือพระราชพิธีกองทัพเรือ ร่วมกับขบวนเรือที่เข้าทำการแข่งขัน เพื่อเป็นเกียรติต่อชาวหลังสวนด้วย

การแข่งขันเรือยาว

1. เรือประเภทชิงโล่พระราชทาน ทำการแข่งขันวันที่ 1-2 ของงานโดยเริ่มตั้งแต่ เวลา 09.00 น. ถึง 17.00 น. เรือที่ชนะเลิศจะได้รับโล่พระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
2. เรือประเภทชิงถ้วยพระราชทาน ทำการแข่งขันวันที่ 3-5ของงาน เริ่มทำการแข่งขันตั้งแต่เวลา09.00 น.ถึง 17.00 น. หากการแข่งขันไม่เสร็จสิ้น ก็จะให้มีการแข่งขันต่อในวันถัดไป เรือที่ชนะเลิศ ได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
3. เรือประเภทนักเรียน ทำการแข่งขัน ในภาคบ่ายของแต่ละวัน เริ่มตั้งแต่เวลา 13.00 น.ถึง 18.00 น. หากการแข่งขันไม่เสร็จสิ้นก็จะให้มีการแข่งขันต่อในวันถัดไปเรือที่ชนะเลิศจะได้รับถ้วยประทานของพระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาฯ
4. เรือประเภทเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้นำท้องถิ่น ทำการแข่งขันในวันแรกของงานคือวันที่ 24 เวลา 10.00 น. จนจบการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ รอบชิงชนะเลิศทำการแข่งขัน สลับกับการชิงชนะเลิศของเรือประเภทนักเรียน เรือชนะเลิศได้รับถ้วยประทานของทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนา พรรณวดี

การประกวดเรือสวยงาม
เรือสวยงามที่ส่งเข้าประกวดจะต้องพายทุกวันตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2553 เรือสวยงามที่ชนะเลิศ ได้รับโล่พระราชทานสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พร้อมเงินรางวัลจำนวน 30,000 บาท

การประกวดเรือพระน้ำ
เรือพระน้ำที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีทุกวันตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2553 เรือพระน้ำที่ชนะเลิศการประกวด ได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวับ 20,000 บาท

การประกวดกองเชียร์บนฝั่ง
กองเชียร์ที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีการเชียร์ตั้งแต่เรือคู่แรกจนถึงคู่สุดท้ายของแต่ละวันตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2553 จนถึงชิงชนะเลิศในวันสุดท้ายของการแข่งขัน กองเชียร์ที่ชนะเลิศการแข่งขันได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์อัคราชกุมารี พร้อมเงินรางวัล 20,000 บาท

การประกวดเรือประเภทความคิด
เรือที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีทุกวันตั้งแต่วันแรกของงาน เรือที่ชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัล 1 ใบ พร้อมเงิน 5,000 บาท

การประกวดเรือตลกขบขัน
เรือที่ส่งเข้าประกวดจะต้องมีทุกวันตั้งแต่วันวันแรกของงาน เป็นการสร้างสรรค์และเป็นการอนุรักษ์แม่น้ำ และประเพณี เรือที่ชนะการประกวดได้รับถ้วยรางวัล 1 ใบ พร้อมเงิน 5,000 บาท

การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน
กีฬาพื้นบ้านที่จัดการแข่งขัน มี 3 ประเภทคือ 1. การแข่งขันตะกร้อ 2. การแข่งขันชักคะเย่อ 3. การแข่งขันหมากรุกไทย โดยให้แต่ละตำบลจัดส่งทีมกีฬาทั้ง 3 ประเภทเข้าร่วมทำการแข่งขันโดยใช้สนามหน้าที่ว่าการอำเภอหลังสวน รางวัลชนะเลิศได้รับถ้วยประทานหม่อมเจ้าหญิงสิริวัณวรี มหิดล

กิจกรรมส่งเสริมสินค้าชุมชน และสนับสนุนภูมิปัญญาไทย จัดจำหน่ายสินค้า โอท๊อป (OTOP) ที่ผ่านการคัดสรร ระดับ 3-5 ดาว จากจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของไทยรวม 6 ประเภท ได้แก่
1. ประเภทอาหาร
2. ประเภทเครื่องดื่ม
3. ประเภทผ้า และเครื่องแต่งกาย
4. ประเภทของใช้และของประดับตกแต่ง
5. ประเภทศิลปะ ประดิษฐ์และของที่ระลึก
6. ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร
โดยจัดเป็น "เมือง โอท๊อป" (OTOP TOWN) ขนาดใหญ่ ที่สำคัญในงานนี้ท่านจะได้พบกับภูมิปัญญา แนวคิด ซึ่งเป็นสมบัติล้ำค่าของคนไทย ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นชิ้นงาน ณ สนามแข่งเรือแม่น้ำหลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร แล้วอย่าลืมนะครับออกพรรษานี้ไปพบกันที่งานแข่งเรือหลังสวน เพื่อร่วมกันสืบสาน อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของลุ่มน้ำหลังสวนด้วยกัน

ขอขอบคุณภาพประกอบเรื่องจาก Armoo Chumphontour.com
http://www.chumphontour.com/และ http://www.paknamlangsuan.com/ ครับ

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

แข่งเรือ -เรือแข่ง

แข่งเรือ -เรือแข่ง หลังสวน มรดกวัฒนธรรมแห่งลุ่มน้ำหลังสวนถิ่นกำเนิดแข่งเรือยาวขึ้นโขนชิงธง

แข่งเรือ แข่งเรือหลังสวน ชักชวน ชักชวนกันมา แรมค่ำเดือนสิบเอ็ดออกพรรษา มาเถิดหนา มาเถิดหนามาเที่ยว....บางท่อนของเพลงที่เคยได้ยินและหัดร้องตอนที่ยังเป็นเด็กโดยมีรุ่นพี่ที่ไปเรียนในเมือง โรงเรียนหลังสวนวิทยาคาร (ลสว.)สอนให้ร้อง เมื่อประมาณ30 กว่าปีที่แล้ว จำได้เพียงเท่านี้ แต่ก็เพียงพอที่จะทำให้ความทรงจำในอดีตผุดขึ้นมาเป็นฉากๆ ทำให้คิดถึงบรยากาศเก่าๆ ในช่วงเวลาที่เคยเรียนอยู่โรงเรียนสวนศรีวิทยา และอาศัยเป็นลูกศิษย์วัดอยู่วัดด่านประชากร เมื่อถึงแรม 1 ค่ำเดือน 11 เมื่อใดเมืองที่เคยเงียบสงบกลับคึกคักขึ้นมาทันทีและข่าวการจัดงานงานถูกแพร่ออกจากวัดสู่ชุมชนอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องพึ่งพาสื่อที่ทันสมัยเช่นปัจจุบัน แม้แต่ลูกหลานคนหลังสวนที่ไปทำงานพลัดบ้านไกลถิ่นก็ยังต้องดิ้นรนกลับมา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของงานนี้ และที่นี่คือเบ้าหลอมรวมความสามัคคี ที่เชื่อมโยงคนในสังคมอำเภอหลังสวนเข้าด้วยกัน และสิ่งสำคัญที่สุดคือการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของลุ่มน้ำหลังสวน ที่มีความเป็นมานานนับร้อยปีให้สืบทอดต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุดตราบเท่าที่ลูกหลานชาวหลังสวน ยังรักษาให้คงอยู่ เป็นความภาคภูมิใจร่วมกัน

วันนี้ 10 กันยายน 2553 ในขณะที่กำลังเขียนเรื่องนี้ นับต่อไปอีกประมาณ เดือนเศษ ก็จะครบรอบช่วงเวลาวันแห่งความสุขของชาวหลังสวนอีกแล้ว โดยงานในปีนี้จะตรงกับวันที่ 24 ตุลาคม 2553 (วันแรม 1 ค่ำเดือน 11) ตรงกับวัน "ปิยะมหาราช"ด้วย เชื่อว่าปีนี้คณะจัดงานแข่งเรือหลังสวนต้องจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ เพราะล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านทรงมีคุณูปการต่อพสกนิกรชาวหลังสวน อย่างเอนกอนันต์ ในอตีดที่พระองค์ได้ทรงเสด็จประพาสต้น ผ่านมายังหลังสวน ยังมีหนังสือที่เขียนถึงบางยี่โร ชุมชนริมแม่น้ำหลังสวน (เรื่องตำข้าวสารกรอกหม้อ) เป็นการเตือนสติคนหลังสวนถึงการทำมาหากิน และรวมถึงการถือกำเนิดของเรือยาวที่ชื่อ "มะเขือยำ"ตำนานของการแข่งกันเรือยาวขึ้นโขนชิงธงที่เป็นเอกลักษณ์ หนึ่งเดียวในโลกของลุ่มน้ำแห่งนี้ เป็นเรือที่เคยเป็นจ้าวแห่งสายน้ำมาหลายสมัย อีกทั้งยังเป็นเรือที่ได้ทำการแข่งขันหน้าพระที่นั่งของ รัชกาลที่ 5 มาแล้ว ปัจจุบันได้ปลดระวางแล้ว แต่ยังคงนำมาเป็นเรือนำขบวนพาเหรดทางน้ำก่อนมีการแข่งขันเรือยาวเป็นประจำทุกปี สำหรับความเป็นมาของ "เรือมะเขือยำ" ที่ไม่ได้มีการตั้งชื่อกันเล่นๆ แต่มีที่มาน่าสนใจมากทีเดียว มีการเล่าต่อกันมาว่า

เรือลำนี้มีอายุกว่าร้อยปี ตัวเรือทำด้วยไม้ตะเคียน ที่ลอยน้ำมา ที่มีชาวบ้านดอนชัยพบเห็น และได้พยายามนำไม้ท่อนนี้ขึ้นฝั่งเพื่อจะนำไปทำเรือยาว แต่ไม่สามารถนำขึ้นฝั่งได้ ชาวบ้านจึงได้นำเรื่องนี้ไปบอกกล่าว หลวงพ่อเพชร วัดดอนชัย ซึ่งตามนิมิต ของหลวงพ่อในคืนก่อนหน้าที่จะมีชาวบ้านมาบอกเรื่องนี้ ได้ฝันเห็นว่า มีนางไม้ได้มาบอกว่าจะขอมาพึ่งบารมีของหลวงพ่อ แต่ขอให้ผู้ที่จะนำไม้ท่อนนี้ขึ้นฝั่งเพื่อใช้ในการทำเรือยาวนั้น ต้องทำพิธีอัญเชิญ โดยมีอาหารหวานคาวเซ่นไหว้ แต่ในบรรดาอาหารทั้งหมดที่พิเศษ กว่าอาหารอื่นๆ คือ "ยำมะเขือ"ซึ่งเป็นอาหารพื้นถิ่นของคนหลังสวน หลังจาการเซ่นไหว้เสร็จเรียบร้อย จึงสามารถนำไม้ท่อนดังกล่าวขึ้นฝั่ง เพื่อทำเรือยาวได้ เรือลำนี้จึงได้ชื่อว่า "เรือมะเขือยำ" ตามของที่นำมาเซ่นไหว้ตั้งแต่นั้นมา และก่อนจะทำการนำเรือลงน้ำทุกครั้งจะต้องมีการเซ่นไหว้ด้วยมะเขือยำทุกครั้งด้วย เรือมะเขือยำเป็นเรือยาวที่ใช้ สำหรับแข่งขัน ชนิด ๒๘ ฝีพาย โดยปรากฏในจดหมายเหตุประพาสต้นสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๒ ระบุถึงเรือมะเขือยำ สังกัดวัดดอนชัย ซึ่งเป็นเรือยาวใช้ในการแข่งขัน และเป็นเรือลำหนึ่งในขบวนเรือรับเสด็จที่ตำบลบางขันเงิน อำเภอหลังสวน
เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๓๒ (ร.ศ.๑๐๘) เรือนี้ได้นำเสด็จเรือกลไฟพระที่นั่งทอนิครอฟต์จากปากอ่าวไทยไปตามลำน้ำหลังสวน และเสด็จประทับพลับพลาตำบลบางขันเงิน นอกจากนี้ยังใช้เป็นเรือแข่งขันในงานประเพณีแข่งเรือยาวหลังสวน หลังเทศกาลออกพรรษา ช่วงแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ อีกด้วยจึงถือได้ว่า เรือมะเขือยำเป็นเรือที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์เมืองหลังสวนมากทีเดียว ปัจจุบันเรือมะเขือยำไม่ได้ใช้แข่งขันอีกต่อไป แต่ยังใช้เป็นเรือเกียรติยศนำหน้าขบวนแห่ในพิธีเปิดการแข่งขันงานประเพณี แข่งเรือขึ้นโขนชิงธงที่อำเภอหลังสวน โดยก่อนถึงกำหนดงานเทศกาลดังกล่าว ทางวัดดอนชัยจะให้ช่างทำการตกแต่งทาสีเรือใหม่เป็นประจำทุกปี และปัจจุบันเรือมะเขือยำเก็บรักษาอยู่ทึ่วัดดอนชัย ตำบลพ้อแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร สรุปวันนี้ยังไม่ได้เข้าเรื่องงานแข่งเรือหลังสวน หรือที่ชาวหลังสวนเรียกติดปากว่า "งานเรือแข่ง" เลย ขอพักก่อนตอนหน้ามาเล่าต่อครับ โปรดติดตาม

ขอขอบคุณภาพสวยๆจาก http://www.chumphontour.com/
และ http://www.paknamlangsuan.com/

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โฮมสเตย์คุณภาพระดับ 5 ดาว

ใกล้ถึงหน้าผลไม้แล้ว เตรียมตัวไปเที่ยวโฮมสเตย์แบบมีสไตล์ที่บ้านคีรีวง ชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งเขาหลวง กันครับ
ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวง ตั้งอยู่ที่ บ้านคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
ความเป็นมา หมู่บ้านคีรีวง เป็นหมู่บ้านที่ถูกโอบล้อมไปด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนกันไป มีหมู่บ้านรวมตัวกันบริเวณที่ราบระหว่าง หุบเขา มีลำธารสายใหญ่ไหลผ่านถึง 2 สาย คือ สายคลองปง และคลองท่าหา ซึ่งไหลมาบรรจบกันเป็นคลองท่าดี ส่วนต้น น้ำอยู่บนยอดเขาหลวง บริเวณที่เรียกว่าขุนน้ำท่าดี สายน้ำจากคลองท่าดีไหลมาหล่อเลี้ยงผู้คนและชุมชน และไหลรวม กับแม่น้ำสายป่าหล้าลงมาหล่อเลี้ยงผู้คนที่อยู่ในเมือง ซึ่งเป็นที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มภายนอกในด้านการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมาย คือ การพิชิต ยอดเขาหลวง ยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชิดชาวบ้านมากที่สุด มีทัศนียภาพ ที่สวยงามทางธรรมชาติ มีประวัติศาสตร์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนที่สั่งสมกันมากว่า 200 ปี จึงมีผู้คนแวะเวียนมา เยี่ยมเยือนเพื่อท่องเที่ยวและเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ชุมชนได้เกิดความห่วงใยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การลักลอบนำพันธุ์ไม้ลงจากเขาหลวง การทิ้งขยะ รวมทั้งผลกระทบทางวัฒนธรรม ในเดือนกรกฎาคม 2539 มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) และโครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติ (พออ.) นำตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้านคีรีวง อบต.กองทุนเติมสีเขียวใส่เขาหลวง กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่ม เยาวชน (กลุ่มเสรีพัฒนา) กลุ่มมัดย้อม กลุ่มแม่บ้านทุเรียนกวน กลุ่มงดสูบบุหรี่ ไปศึกษาดูงานที่เกาะยาว จ.พังงา เกี่ยวกับ เรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยองค์กรชาวบ้าน เพื่อศึกษารูปแบบและการบริหารจัดการที่ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม หลังจากกลับจากการดูงาน ได้มีการปรึกษาระหว่างแกนนำกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่เพื่อจัดการเรื่องการ ท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ซึ่งเดิมกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมหนึ่งของกองทุนเติมสีเขียวใส่เขา หลวง แต่เนื่องจากภาระ กิจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเขาหลวง เป็นงานที่ต้องประสานความร่วมมือหลายฝ่าย และจำเป็นต้องสร้าง สรรค์กิจกรรมที่หลากหลายในด้านการรณรงค์และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ จึงควรแยกเรื่อง การจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวออกไปดำเนินงานให้ชัดเจน กลุ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวจึงพัฒนารูปแบบการทำงานไปสู่ การจัดตั้ง “ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ในเดือนสิงหาคม 2539 โดยมี พออ.,อบต.และกองทุนเติมสีเขียวใส่เขา หลวงเป็นที่ปรึกษาในการทำกิจกรรม ต่อมาเพื่อให้การ ดำเนินกิจกรรมของชมรมฯ เป็นที่ยอมรับและมีงบประมาณในการสนับสนุน จึงมีการจัดปรับให้ ชมรมฯ เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของ อบต.กำโลน อำเภอลานสกา จ.นครศรีธรรมราช โทร.(075) 309010
ชมรมฯ มีสมาชิก 47 คน มีการจัดกลุ่มสมาชิกที่มีความพร้อมด้านที่พัก ลูกหาบ เป็นชุด เพื่อหมุนเวียน ต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันมีชุดลูกหาบทั้งหมด 5 ชุด และมีชุดบ้านพักทั้งหมด 7 ชุด

ลักษณะทางประชากรศาสตร์
บ้านคีรีวง แบ่งเขตการปกครองเป็น 4 หมู่บ้าน โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ เขาหลวง
ทิศใต้ ติดต่อ เขาหอยสังข์และวัดสมอ
ทิศตะวันออก ติดต่อ เขายอดเพลและวัดสมอ
ทิศตะวันตก ติดต่อ เขาหลวง
มีประชากรเกือบ 4,000 คน มีโรงเรียนไทยรัฐวิทยา จำนวน 1 แห่ง มีสาธารณูปโภคพร้อม ส่วนสภาพของวิถีชีวิตของ คนก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง คือ ค่อนข้างเป็นสังคมเมืองมากกว่าอดีต แต่การรักพวกพ้อง เครือญาติ ยังคงเหมือนเดิม รวมถึงการประกอบอาชีพของชาวคีรีวง ยังคงทำสวนสมรม ซึ่งเป็นสวนผลไม้บนภูเขาที่อยู่รอบ ๆ หมู่บ้าน การทำสวนสมรมของชาวคีรีวง เป็นวิธีการที่ปฏิบัติมากว่า 200 ปี แล้ว ในอดีตชาวคีรีวงตั้งบ้านเรือนห่างไกลกัน การเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้านก็ลำบาก อาศัยเพียงเรือในการสัญจรไปมา และยังไม่มีระบบเงินตราเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องใช้ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน เช่น ชาวคีรีวงบรรทุกผลไม้ สมุนไพร ไปจนเต็มลำเรือเพื่อแลกข้าว ปลาแห้งและพืชผักชนิดอื่น ๆ ที่บริเวณปากพนังและหัวไทร ซึ่งกว่าจะได้ทำการแลกเปลี่ยน ผลไม้ก็เสียความสดใหม่ ดังนั้น การทำสวนจึงเน้นวิธีการปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดไว้เพื่อให้เพียงพอต่อการยังชีพ และคิดค้นวิธีถนอมอาหารด้วย

ลักษณะของสวนสมรม
สภาพสวนในอดีตมี ลักษณะคล้ายป่า คือ จะปลูกมังคุด ปลูกสะตอ ทุเรียน เสริมลงไปในพื้นที่ป่า ที่มีพืชผลต่าง ๆ ขึ้น อยู่ สภาพสวนจึงค่อนข้างรก มีทุกอย่างพร้อมอยู่ในสวน และรูปแบบการปลูกเช่นนี้มีผลต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย เนื่อง จากผลไม้แต่ละชนิดจะเก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน จึงทำให้มีกินมีใช้ตลอดทั้งปี แนวคิดเช่นนี้ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึง ปัจจุบัน
การปลูกใหม่แทนต้น เก่าที่หมดสภาพหรือต้องเพิ่มปริมาณต้นไม้ในสวนทุก ๆ ปี ทำให้สวนของชาวคีรีวงยังเป็นสวนสมรมตลอดมา ปัจจุบันพบว่าชาวคีรีวงส่วนมากมีที่ดินทำกินประมาณ 1-10 ไร่ แต่อย่างไรก็ตามทุกสวนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีผลไม้ และไม้ป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติปะปนกันไป นักท่องเที่ยวจะเห็นต้นทุเรียนขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 100 ซม.มีต้นมังคุดขนาดใหญ่ ต้นลูกประ ต้นหมาก พลู ลูกเนียง ลางสาด ลองกอง สะตอ จำปาดะ มะพร้าว มะเหมี่ยว และมะมุด ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดจะออกผลไม่พร้อมกัน มีฤดูการเก็บเกี่ยว ดังนี้

- ส.ค.-ก.ย. เริ่มเก็บผลผลิตจากสะตอ ทุเรียน มังคุด เงาะ (แล้วหาบมาขายในบริเวณจุดรับซื้อในหมู่บ้าน)ทำสะตอดอง ทำทุเรียนกวน
- ต.ค.-พ.ย. เก็บผลผลิตลูกเนียง ยังคงทำทุเรียนกวน
- ธ.ค.-ก.พ. ถางสวน ปลูกซ่อม ทำหมากย่าง (โดยเอาหมากขนาดพอดีไม่นิ่ม-ไม่แข็งเกินไป มาหั่นเป็น แว่นบาง ๆ แล้วย่างไฟ จะขายเป็นกิโลกรัม แต่ละปีราคาไม่เท่ากัน) เริ่มขายสะตอดอง ทุเรียนกวน
- มี.ค.-เม.ย. เก็บหมากอ่อนดูแลน้ำในสวน
- พ.ค.-ก.ค. ทำหมากผ่าซีก (หมากแห้ง) ตากหมากถางสวน

ข้อเด่นของการทำสวนสมรม
- ใช้พันธุ์พืชพื้น เมืองเป็นหลัก ถึงมีพันธุ์ใหม่เข้ามาแต่ยังคงมีการรักษาพันธุ์เดิมไว้ แต่ใช้เทคนิคการ เกษตรเข้ามาช่วย เช่นการเสียบยอด ยังไม่เห็นส่วนใดที่เปลี่ยนเป็นพันธุ์ใหม่หมดทั้งสวน หรือบางสวนก็ อาจจะปลูกแซมต้นเดิมบ้าง
- ไม่ปลูกเป็นแถวเป็น แนว แต่ปลูกในทุกพื้นว่าง และปลูกใหม่ทันทีหากต้นเก่าหมดสภาพ
- ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาปราบศัตรูพืช ให้ธรรมชาติดูแลกันเอง ผลผลิตจึงปลอดสารพิษ
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ จอบ พร้า เสียม ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องตัดหญ้าเข้ามาใช้บ้าง
- ใช้แรงงานในครัวเรือน เป็นหลัก เพราะการดูแลรักษาสวนมีแต่เฉพาะการดูแลเรื่องน้ำ โดยส่วนมากรอน้ำฝน ยกเว้นต้นที่ปลูกใหม่ต้องรดน้ำเป็นพิเศษ บางสวนเริ่มมีการใช้ท่อสูบน้ำ
ต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะไม่ได้ลงทุนในเรื่องปุ๋ย ยาฆ่าแมลง หรือเครื่องจักร รายได้ขึ้นอยู่กับปริมาณและ ราคาผลผลิตตามท้องตลาด โดยเฉลี่ยครอบครัวละ 35,000-50,000 บาท

เขาหลวง
เทือกเขาสูงสลับซับ ซ้อน มียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะป่าเป็นป่าดิบชื้น หรือป่าฝนเขตร้อน มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด เช่น มอส เฟิร์น ไลเคน บีโกเนีย เต่าร้างยักษ์ มหาสดำ กล้วยไม้ป่าดงดิบ ไม้ตระกูลยาง ตะเคียน ก่อ
เป็นแหล่งอาศัยของ สัตว์หายาก สัตว์ป่าที่มีอยู่ชุกชุม เช่น สมเสร็จ เลียงผา หมูป่า ค่างชะนี ฯลฯ
มีความหลากหลายทาง ชีวภาพ มีสายพันธุ์พืชและสัตว์มากมาย มีการปรับปรุงพันธุ์ในภาคเกษตรกรรม และสามารถนำไปค้นคว้าวิจัยเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะใหม่ ๆ ได้อีกนับไม่ถ้วน สภาพป่าดงดิบที่มีไม้หลายชนิดขึ้นอยู่ปะปนกัน ก่อเกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ในตัวเอง

กฎระเบียบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวง

1. นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบ้านคีรีวงจะต้องผ่านชมรมฯ เท่านั้น
2. ต้องได้รับอนุญาตจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าของพื้นที่
3. ต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน
4. ห้ามพกพาอาวุธ หรือวัตถุระเบิดเข้ามาในพื้นที่
5. ห้ามมีเรื่องชู้สาว หรือกระทำอนาจาร
6. อาบน้ำในลำธาร ควรแต่งกายสุภาพ
7. ห้ามนำยาเสพติดเข้ามาในชุมชน

การขึ้นเขาหลวง

1. ต้องได้รับอนุญาตจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่อุทยานเท่านั้น
2. ต้องผ่านชมรมฯ เท่านั้น โดยใช้ระบบการจัดการที่ชมรมฯ จัดการอยู่
3. ต้องเป็นบุคคลที่รักธรรมชาติ
4. จำนวนคนไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่เกิน 15 คน รวมทั้งลูกหาบ
5. สามารถเที่ยวเขาหลวงได้เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น
6. ต้องเสียค่าบริการ ค่าลูกหาบ ค่าบำรุงชมรมฯ ตามที่ชมรมฯ กำหนดไว้
7. ต้องเชื่อฟังคนนำทาง (เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเอง)
8. ลูกหาบจะรับผิดชอบน้ำหนักสัมภาระตามที่กำหนดไว้ หากน้ำหนักเกินนักท่องเที่ยวจะต้องรับผิดชอบเอง หรือแจ้งล่วงหน้าเพื่อจัดหาลูกหาบเพิ่ม
9. ห้ามทิ้งขยะ ระหว่างการขึ้นลงเขาหลวง ขณะพักบนยอดเขาหลวง และรวมถึงขณะศึกษาวิถีชีวิตชุมชนด้วย
10. ต้องช่วยกันดูแลรักษาความสวยงามของธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนไว้ให้นานที่สุด

ข้อควรปฏิบัติในการขึ้นเขาหลวง

1. ลูกหาบ 1 คนจะรับผิดชอบสัมภาระของนักท่องเที่ยว น้ำหนักไม่เกิน 10 กก./นักท่องเที่ยว 2 คน
2. นักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตาม กฎ ที่วางไว้
3. เรื่องความสะดวก อาหาร โปรแกรมการท่องเที่ยว ทางสมาชิกชมรมฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบ
4. ลูกหาบจะไม่รับผิดชอบของใช้ส่วนตัวของผู้หญิง ผู้ชาย เช่น ชุดชั้นใน

กรณีมีการขึ้นเขาหลวง ลูกหาบต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีความรู้ในเรื่องพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ
2. สามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างแม่นยำ
3. ลูกหาบควรกล้าแสดงออกในการถ่ายทอดข้อมูล
4.ลูกหาบจะต้องช่วย เหลือซึ่งกันและกันขณะเดินทางและพักบนยอดเขาหลวง

สมาชิกชมรมฯ ได้จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งหมด 4 โปรแกรม ดังนี้

1. ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน
2. ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
3. ศึกษาธรรมชาติบนยอดเขาหลวง ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน
4. ศึกษาวิถีชีวิตชุมชนและธรรมชาติบนยอดเขาหลวง ระยะเวลา 4 วัน 3 คืน

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เที่ยวหมู่ บ้าน วัด ตลาดนัด เยี่ยมชมและร่วมกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้านทุเรียนกวน กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ เที่ยวน้ำตก เที่ยวสวนสมรม ดูนกในสวน ศึกษาเส้นทางธรรมชาติบนเขาหลวง

วัฒนธรรมประเพณี
งานสารทเดือนสิบ แรม 14, 15 ค่ำ เดือน 10
ประเพณีชักพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11