วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โฮมสเตย์คุณภาพระดับ 5 ดาว

ใกล้ถึงหน้าผลไม้แล้ว เตรียมตัวไปเที่ยวโฮมสเตย์แบบมีสไตล์ที่บ้านคีรีวง ชุมชนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งเขาหลวง กันครับ
ชมรมท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวง ตั้งอยู่ที่ บ้านคีรีวง ต.กำโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช
ความเป็นมา หมู่บ้านคีรีวง เป็นหมู่บ้านที่ถูกโอบล้อมไปด้วยขุนเขาน้อยใหญ่สลับซับซ้อนกันไป มีหมู่บ้านรวมตัวกันบริเวณที่ราบระหว่าง หุบเขา มีลำธารสายใหญ่ไหลผ่านถึง 2 สาย คือ สายคลองปง และคลองท่าหา ซึ่งไหลมาบรรจบกันเป็นคลองท่าดี ส่วนต้น น้ำอยู่บนยอดเขาหลวง บริเวณที่เรียกว่าขุนน้ำท่าดี สายน้ำจากคลองท่าดีไหลมาหล่อเลี้ยงผู้คนและชุมชน และไหลรวม กับแม่น้ำสายป่าหล้าลงมาหล่อเลี้ยงผู้คนที่อยู่ในเมือง ซึ่งเป็นที่ได้รับความสนใจจากกลุ่มภายนอกในด้านการท่องเที่ยว โดยมีเป้าหมาย คือ การพิชิต ยอดเขาหลวง ยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ เป็นแหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติที่อยู่ใกล้ชิดชาวบ้านมากที่สุด มีทัศนียภาพ ที่สวยงามทางธรรมชาติ มีประวัติศาสตร์วิถีชีวิตและวัฒนธรรมชุมชนที่สั่งสมกันมากว่า 200 ปี จึงมีผู้คนแวะเวียนมา เยี่ยมเยือนเพื่อท่องเที่ยวและเพื่อการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ชุมชนได้เกิดความห่วงใยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น การลักลอบนำพันธุ์ไม้ลงจากเขาหลวง การทิ้งขยะ รวมทั้งผลกระทบทางวัฒนธรรม ในเดือนกรกฎาคม 2539 มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม (มอส.) และโครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพื่อการอนุรักษ์ ธรรมชาติ (พออ.) นำตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้านคีรีวง อบต.กองทุนเติมสีเขียวใส่เขาหลวง กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่ม เยาวชน (กลุ่มเสรีพัฒนา) กลุ่มมัดย้อม กลุ่มแม่บ้านทุเรียนกวน กลุ่มงดสูบบุหรี่ ไปศึกษาดูงานที่เกาะยาว จ.พังงา เกี่ยวกับ เรื่องการจัดการท่องเที่ยวโดยองค์กรชาวบ้าน เพื่อศึกษารูปแบบและการบริหารจัดการที่ชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วม หลังจากกลับจากการดูงาน ได้มีการปรึกษาระหว่างแกนนำกลุ่มต่าง ๆ เพื่อจัดตั้งกลุ่มขึ้นมาใหม่เพื่อจัดการเรื่องการ ท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ซึ่งเดิมกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมหนึ่งของกองทุนเติมสีเขียวใส่เขา หลวง แต่เนื่องจากภาระ กิจเรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเขาหลวง เป็นงานที่ต้องประสานความร่วมมือหลายฝ่าย และจำเป็นต้องสร้าง สรรค์กิจกรรมที่หลากหลายในด้านการรณรงค์และกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ จึงควรแยกเรื่อง การจัดการกิจกรรมการท่องเที่ยวออกไปดำเนินงานให้ชัดเจน กลุ่มกิจกรรมการท่องเที่ยวจึงพัฒนารูปแบบการทำงานไปสู่ การจัดตั้ง “ชมรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์” ในเดือนสิงหาคม 2539 โดยมี พออ.,อบต.และกองทุนเติมสีเขียวใส่เขา หลวงเป็นที่ปรึกษาในการทำกิจกรรม ต่อมาเพื่อให้การ ดำเนินกิจกรรมของชมรมฯ เป็นที่ยอมรับและมีงบประมาณในการสนับสนุน จึงมีการจัดปรับให้ ชมรมฯ เป็นกิจกรรมส่วนหนึ่งของ อบต.กำโลน อำเภอลานสกา จ.นครศรีธรรมราช โทร.(075) 309010
ชมรมฯ มีสมาชิก 47 คน มีการจัดกลุ่มสมาชิกที่มีความพร้อมด้านที่พัก ลูกหาบ เป็นชุด เพื่อหมุนเวียน ต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยให้ทุกคนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกัน ปัจจุบันมีชุดลูกหาบทั้งหมด 5 ชุด และมีชุดบ้านพักทั้งหมด 7 ชุด

ลักษณะทางประชากรศาสตร์
บ้านคีรีวง แบ่งเขตการปกครองเป็น 4 หมู่บ้าน โดยมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อ เขาหลวง
ทิศใต้ ติดต่อ เขาหอยสังข์และวัดสมอ
ทิศตะวันออก ติดต่อ เขายอดเพลและวัดสมอ
ทิศตะวันตก ติดต่อ เขาหลวง
มีประชากรเกือบ 4,000 คน มีโรงเรียนไทยรัฐวิทยา จำนวน 1 แห่ง มีสาธารณูปโภคพร้อม ส่วนสภาพของวิถีชีวิตของ คนก็เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง คือ ค่อนข้างเป็นสังคมเมืองมากกว่าอดีต แต่การรักพวกพ้อง เครือญาติ ยังคงเหมือนเดิม รวมถึงการประกอบอาชีพของชาวคีรีวง ยังคงทำสวนสมรม ซึ่งเป็นสวนผลไม้บนภูเขาที่อยู่รอบ ๆ หมู่บ้าน การทำสวนสมรมของชาวคีรีวง เป็นวิธีการที่ปฏิบัติมากว่า 200 ปี แล้ว ในอดีตชาวคีรีวงตั้งบ้านเรือนห่างไกลกัน การเดินทางเข้า-ออกหมู่บ้านก็ลำบาก อาศัยเพียงเรือในการสัญจรไปมา และยังไม่มีระบบเงินตราเข้ามาเกี่ยวข้อง ต้องใช้ระบบการแลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน เช่น ชาวคีรีวงบรรทุกผลไม้ สมุนไพร ไปจนเต็มลำเรือเพื่อแลกข้าว ปลาแห้งและพืชผักชนิดอื่น ๆ ที่บริเวณปากพนังและหัวไทร ซึ่งกว่าจะได้ทำการแลกเปลี่ยน ผลไม้ก็เสียความสดใหม่ ดังนั้น การทำสวนจึงเน้นวิธีการปลูกพืชหลาย ๆ ชนิดไว้เพื่อให้เพียงพอต่อการยังชีพ และคิดค้นวิธีถนอมอาหารด้วย

ลักษณะของสวนสมรม
สภาพสวนในอดีตมี ลักษณะคล้ายป่า คือ จะปลูกมังคุด ปลูกสะตอ ทุเรียน เสริมลงไปในพื้นที่ป่า ที่มีพืชผลต่าง ๆ ขึ้น อยู่ สภาพสวนจึงค่อนข้างรก มีทุกอย่างพร้อมอยู่ในสวน และรูปแบบการปลูกเช่นนี้มีผลต่อการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย เนื่อง จากผลไม้แต่ละชนิดจะเก็บเกี่ยวได้ไม่พร้อมกัน จึงทำให้มีกินมีใช้ตลอดทั้งปี แนวคิดเช่นนี้ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึง ปัจจุบัน
การปลูกใหม่แทนต้น เก่าที่หมดสภาพหรือต้องเพิ่มปริมาณต้นไม้ในสวนทุก ๆ ปี ทำให้สวนของชาวคีรีวงยังเป็นสวนสมรมตลอดมา ปัจจุบันพบว่าชาวคีรีวงส่วนมากมีที่ดินทำกินประมาณ 1-10 ไร่ แต่อย่างไรก็ตามทุกสวนจะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีผลไม้ และไม้ป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติปะปนกันไป นักท่องเที่ยวจะเห็นต้นทุเรียนขนาดเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 100 ซม.มีต้นมังคุดขนาดใหญ่ ต้นลูกประ ต้นหมาก พลู ลูกเนียง ลางสาด ลองกอง สะตอ จำปาดะ มะพร้าว มะเหมี่ยว และมะมุด ซึ่งผลไม้แต่ละชนิดจะออกผลไม่พร้อมกัน มีฤดูการเก็บเกี่ยว ดังนี้

- ส.ค.-ก.ย. เริ่มเก็บผลผลิตจากสะตอ ทุเรียน มังคุด เงาะ (แล้วหาบมาขายในบริเวณจุดรับซื้อในหมู่บ้าน)ทำสะตอดอง ทำทุเรียนกวน
- ต.ค.-พ.ย. เก็บผลผลิตลูกเนียง ยังคงทำทุเรียนกวน
- ธ.ค.-ก.พ. ถางสวน ปลูกซ่อม ทำหมากย่าง (โดยเอาหมากขนาดพอดีไม่นิ่ม-ไม่แข็งเกินไป มาหั่นเป็น แว่นบาง ๆ แล้วย่างไฟ จะขายเป็นกิโลกรัม แต่ละปีราคาไม่เท่ากัน) เริ่มขายสะตอดอง ทุเรียนกวน
- มี.ค.-เม.ย. เก็บหมากอ่อนดูแลน้ำในสวน
- พ.ค.-ก.ค. ทำหมากผ่าซีก (หมากแห้ง) ตากหมากถางสวน

ข้อเด่นของการทำสวนสมรม
- ใช้พันธุ์พืชพื้น เมืองเป็นหลัก ถึงมีพันธุ์ใหม่เข้ามาแต่ยังคงมีการรักษาพันธุ์เดิมไว้ แต่ใช้เทคนิคการ เกษตรเข้ามาช่วย เช่นการเสียบยอด ยังไม่เห็นส่วนใดที่เปลี่ยนเป็นพันธุ์ใหม่หมดทั้งสวน หรือบางสวนก็ อาจจะปลูกแซมต้นเดิมบ้าง
- ไม่ปลูกเป็นแถวเป็น แนว แต่ปลูกในทุกพื้นว่าง และปลูกใหม่ทันทีหากต้นเก่าหมดสภาพ
- ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี หรือยาปราบศัตรูพืช ให้ธรรมชาติดูแลกันเอง ผลผลิตจึงปลอดสารพิษ
เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ จอบ พร้า เสียม ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องตัดหญ้าเข้ามาใช้บ้าง
- ใช้แรงงานในครัวเรือน เป็นหลัก เพราะการดูแลรักษาสวนมีแต่เฉพาะการดูแลเรื่องน้ำ โดยส่วนมากรอน้ำฝน ยกเว้นต้นที่ปลูกใหม่ต้องรดน้ำเป็นพิเศษ บางสวนเริ่มมีการใช้ท่อสูบน้ำ
ต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะไม่ได้ลงทุนในเรื่องปุ๋ย ยาฆ่าแมลง หรือเครื่องจักร รายได้ขึ้นอยู่กับปริมาณและ ราคาผลผลิตตามท้องตลาด โดยเฉลี่ยครอบครัวละ 35,000-50,000 บาท

เขาหลวง
เทือกเขาสูงสลับซับ ซ้อน มียอดเขาหลวงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในภาคใต้ 1,835 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ลักษณะป่าเป็นป่าดิบชื้น หรือป่าฝนเขตร้อน มีพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด เช่น มอส เฟิร์น ไลเคน บีโกเนีย เต่าร้างยักษ์ มหาสดำ กล้วยไม้ป่าดงดิบ ไม้ตระกูลยาง ตะเคียน ก่อ
เป็นแหล่งอาศัยของ สัตว์หายาก สัตว์ป่าที่มีอยู่ชุกชุม เช่น สมเสร็จ เลียงผา หมูป่า ค่างชะนี ฯลฯ
มีความหลากหลายทาง ชีวภาพ มีสายพันธุ์พืชและสัตว์มากมาย มีการปรับปรุงพันธุ์ในภาคเกษตรกรรม และสามารถนำไปค้นคว้าวิจัยเพื่อผลิตยาปฏิชีวนะใหม่ ๆ ได้อีกนับไม่ถ้วน สภาพป่าดงดิบที่มีไม้หลายชนิดขึ้นอยู่ปะปนกัน ก่อเกิดระบบนิเวศที่สมบูรณ์ในตัวเอง

กฎระเบียบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านคีรีวง

1. นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวบ้านคีรีวงจะต้องผ่านชมรมฯ เท่านั้น
2. ต้องได้รับอนุญาตจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เจ้าของพื้นที่
3. ต้องปฏิบัติตามวัฒนธรรมและประเพณีของชุมชน
4. ห้ามพกพาอาวุธ หรือวัตถุระเบิดเข้ามาในพื้นที่
5. ห้ามมีเรื่องชู้สาว หรือกระทำอนาจาร
6. อาบน้ำในลำธาร ควรแต่งกายสุภาพ
7. ห้ามนำยาเสพติดเข้ามาในชุมชน

การขึ้นเขาหลวง

1. ต้องได้รับอนุญาตจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และเจ้าหน้าที่อุทยานเท่านั้น
2. ต้องผ่านชมรมฯ เท่านั้น โดยใช้ระบบการจัดการที่ชมรมฯ จัดการอยู่
3. ต้องเป็นบุคคลที่รักธรรมชาติ
4. จำนวนคนไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่เกิน 15 คน รวมทั้งลูกหาบ
5. สามารถเที่ยวเขาหลวงได้เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนดไว้เท่านั้น
6. ต้องเสียค่าบริการ ค่าลูกหาบ ค่าบำรุงชมรมฯ ตามที่ชมรมฯ กำหนดไว้
7. ต้องเชื่อฟังคนนำทาง (เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวเอง)
8. ลูกหาบจะรับผิดชอบน้ำหนักสัมภาระตามที่กำหนดไว้ หากน้ำหนักเกินนักท่องเที่ยวจะต้องรับผิดชอบเอง หรือแจ้งล่วงหน้าเพื่อจัดหาลูกหาบเพิ่ม
9. ห้ามทิ้งขยะ ระหว่างการขึ้นลงเขาหลวง ขณะพักบนยอดเขาหลวง และรวมถึงขณะศึกษาวิถีชีวิตชุมชนด้วย
10. ต้องช่วยกันดูแลรักษาความสวยงามของธรรมชาติและวิถีชีวิตชุมชนไว้ให้นานที่สุด

ข้อควรปฏิบัติในการขึ้นเขาหลวง

1. ลูกหาบ 1 คนจะรับผิดชอบสัมภาระของนักท่องเที่ยว น้ำหนักไม่เกิน 10 กก./นักท่องเที่ยว 2 คน
2. นักท่องเที่ยวต้องปฏิบัติตาม กฎ ที่วางไว้
3. เรื่องความสะดวก อาหาร โปรแกรมการท่องเที่ยว ทางสมาชิกชมรมฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบ
4. ลูกหาบจะไม่รับผิดชอบของใช้ส่วนตัวของผู้หญิง ผู้ชาย เช่น ชุดชั้นใน

กรณีมีการขึ้นเขาหลวง ลูกหาบต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. มีความรู้ในเรื่องพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆ
2. สามารถเผยแพร่ความรู้ได้อย่างแม่นยำ
3. ลูกหาบควรกล้าแสดงออกในการถ่ายทอดข้อมูล
4.ลูกหาบจะต้องช่วย เหลือซึ่งกันและกันขณะเดินทางและพักบนยอดเขาหลวง

สมาชิกชมรมฯ ได้จัดโปรแกรมการท่องเที่ยวไว้สำหรับนักท่องเที่ยว ทั้งหมด 4 โปรแกรม ดังนี้

1. ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน
2. ศึกษาวิถีชีวิตชุมชน ระยะเวลา 2 วัน 1 คืน
3. ศึกษาธรรมชาติบนยอดเขาหลวง ระยะเวลา 3 วัน 2 คืน
4. ศึกษาวิถีชีวิตชุมชนและธรรมชาติบนยอดเขาหลวง ระยะเวลา 4 วัน 3 คืน

กิจกรรมที่น่าสนใจ

เที่ยวหมู่ บ้าน วัด ตลาดนัด เยี่ยมชมและร่วมกิจกรรมของกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้านทุเรียนกวน กลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ เที่ยวน้ำตก เที่ยวสวนสมรม ดูนกในสวน ศึกษาเส้นทางธรรมชาติบนเขาหลวง

วัฒนธรรมประเพณี
งานสารทเดือนสิบ แรม 14, 15 ค่ำ เดือน 10
ประเพณีชักพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น